วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

โทรศัพท์มาจากไหน

โทรศัพท์ คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้า เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ

ในสมัยโบราณ การติดต่อสื่อสารทางไกลระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้น จะใช้วิธีการง่ายๆ อาศัยธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การใช้ควัน เสียง แสง หรือใช้นกพิราบ เป็นต้น การสื่อสารที่ใช้ชื่อดังกล่าวนั้นจะไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก เนื่องจากไม่สามารถให้รายละเอียดข่าวสารได้มาก หรือแม้จะให้รายละเอียดได้มากแต่ก็ไม่ค่อยจะปลอดภัยเท่าใด เช่น นกพิราบนำสาร ซึ่งให้รายละเอียดได้มาก แต่เป็นการเสี่ยงเพราะนกพิราบอาจไปไม่ถึงปลายทางได้ อย่างไรก็ตามการสื่อสารดังกล่าวนี้ เป็นการสื่อสารที่ราคาถูกความรวดเร็วก็พอใช้ได้

ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นยุคแห่งความเจริญทางด้านเทคโนโลยี มนุษย์ได้นำเอาเทคโนโลยี
ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้กับการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งความสะดวกสบาย รวดเร็วและถูกต้อง ชัดเจน แน่นอน

ระบบสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายชนิด เช่น วิทยุสื่อสาร (Radio Communication) โทรเล (Telegraphy) โทรพิมพ์ (Telex) โทรศัพท์ (Telephone) โทรสาร (Facsimile) หรือวิทยุตามตัว (Pager) เป็นต้น แต่ระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมทั่วโลกก็คือ โทรศัพท์ เพราะโทรศัพท์สามารถโต้ตอบกันได้ทันที รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งระบบ อื่น ๆ ทำไม่ได้ โทรศัพท์จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและในโลกของการสื่อสารปัจจุบัน โทรศัพท์ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ต่างๆ ด้วยมีคำกล่าวหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอยู่ว่า ประเทศใด ที่มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ในประเทศ 40 หมายเลขต่อประชากร 100 คน ถือว่าประเทศนั้นมีความเจริญแล้ว หรือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศใดที่มีหมายเลขโทรศัพท์ 10 เลขหมายขึ้นไปต่อประชากร 100 คน ถือว่าประเทศนั้นกำลังได้รับการพัฒนา

จะเห็นว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก ให้ความสำคัญกับกิจการโทรศัพท์เป็นอย่างมากในประเทศไทย คำว่า โทรศัพท์ได้เริ่มรู้จักกันตั้งแต่รัชการที่ 5 ซึ่งโทรศัพท์ตรงกับภาษากรีกคำว่า Telephone โดยที่ Tele แปลว่า ทางไกล และ Phone แปลว่า การสนทนา เมื่อแปลรวมกันแล้วก็หมายถึงการสนทนากันในระยะทางไกล ๆ หรือการส่งเสียงจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้ตามต้องการ

โทรศัพท์ ได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2419 โดยนักประดิษฐ์ ชื่อ ALEXANDER GRAHAM BELL

หลักการของโทรศัพท์ที่ Alexander ประดิษฐ์ก็คือ ตัวส่ง(Transmitter) และ ตัวรับ(Receiver) ซึ่งมีโครงสร้างเหมือนลำโพงในปัจจุบัน กล่าวคือ มีแผ่น ไดอะแฟรม (Diaphragm) ติดอยู่กับขดลวด ซึ่งวางอยู่ใกล้ ๆ แม่เหล็กถาวร เมื่อมีเสียงมากระทบแผ่น ไดอะแฟรม ก็จะสั่นทำให้ขดลวดสั่นหรือเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก เกิดกระแสขึ้นมาในขดลวด กระแสไฟฟ้านี้ จะวิ่งตามสายไฟถึงตัวรับซึ่งตัวรับก็จะมีโครงสร้างเหมือนกับ ตัวส่ง เมื่อกระแสไฟฟ้ามาถึงก็จะเข้าไปในขดลวด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่มานี้ เป็น AC มีการเปลี่ยนแปลงขั้วบวกและลบอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ ขดลวดของ ตัวรับ สนามแม่เหล็กนี้จะไปผลักหรือดูดกับสนามแม่เหล็กถาวรของตัวรับ แต่เนื่องจากแม่เหล็กถาวรที่ตัวรับนั้นไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ขดลวดและแผ่นไดอะแฟรม จึงเป็นฝ่ายที่ถูกผลักและดูดให้เคลื่อนที่ การที่ไดอะแฟรม เคลื่อนที่ จึงเป็นการตีอากาศตามจังหวะของกระแสไฟฟ้าที่ส่งมา นั่นคือ เกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้นมาในอากาศ ทำให้ได้ยิน แต่อย่างไรก็ตาม กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากตัวส่งนี้มี ขนาดเล็กมาก ถ้าหากใช้สายส่งยาวมากจะไม่สามารถได้ยินที่ผู้ส่งได้วิธีการของ ALEXANDER GRAHAM BELL จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก แต่ก็เป็นเครื่องต้นแบบให้มีการพัฒนาต่อมาในปี พ.ศ.2420 THOMAS ALWA EDISON ได้ประดิษฐ์ ตัวส่งขึ้นมาใหม่ให้สามารถส่งได้ไกลขึ้นกว่าเดิมซึ่ง ตัวส่งที่ Edison ประดิษฐ์ขึ้นมา มีชื่อว่า คาร์บอน ทรานสมิทเตอร์ (Carbon Transmitter)

คาร์บอน ทรานสมิทเตอร์(Carbon Transmitter) ให้กระแสไฟฟ้าออกมาแรงมาก เนื่องจากเมื่อมีเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม แผ่นไดอะแฟรมจะไปกดผง คาร์บอน(Carbon) ทำให้ค่าความต้านทานของผงคาร์บอนเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกด ดังนั้นแรงเคลื่อน ตกคร่อมผงคาร์บอนจะเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากแรงเคลื่อน ที่จ่ายให้ คาร์บอน มีค่ามากพอสมควร การเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อน จึงมีมากตามไปด้วย และการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงยอดของ DC ที่จ่ายให้คาร์บอน (ดังรูปที่ 1.3) ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ก็คือAC ที่ขี่อยู่บนยอดของ DC นั่นเอง


ข้อมูลจาก Dekdee.com

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของเงินไทย

วิวัฒนาการเงินตราไทย เริ่มตั้งแต่กลุ่มชนดั้งเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ราว 38,000 ปีมาแล้ว ก่อนจะได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียนั้น กลุ่มชนเหล่านี้ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยใช้สิ่งของเป็นสื่อกลาง เมื่อวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาจึงเริ่มผลิตเงินตราเป็นสื่อกลางค้าขาย
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-16 ในวัฒนธรรมแบบฟูนัน-ทวารวดี ได้ผลิตเหรียญกลมแบนจากโลหะเงิน ดีบุก ทองแดง โดยใช้แม่พิมพ์ตราสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น พระอาทิตย์ สังข์ แพะ ปูรณกลศ ตัวอักษร เป็นต้น ซึ่งสื่อถึงความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ อำนาจรัฐ กษัตริย์ และความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์

ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเป็นเมืองท่าค้าขายบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยมีอำนาจควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเล มีการผลิตเงินดอกจันทน์และเงินนโม เพื่อระบบเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัยและล้านนาก็ถือกำเนิดขึ้นและได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือ กรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และได้ติดต่อค้าขายกับกลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนาน น่านเจ้า เป็นต้น และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ ในดินแดนตะวันออกกลาง

ราชอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา กรุงศรีอยุธยา ได้ผลิตคิดค้นเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับเงินตราของต่างชาติด้วย เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรล้านนา ได้แก่ เงินไซซี เงินกำไล เงินเจียง เงินท้อก เงินดอกไม้ ส่วนราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้ผลิตเงินพดด้วง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นใช้ และใช้เบี้ยหอยแทนเงินปลีกย่อย บางครั้งเบี้ยหอยขาดแคลนก็ได้ผลิตเบี้ยโลหะและประกับดินเผาขึ้นใช้ร่วมด้วย

ภายหลังราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสลายลง กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ถือกำเนิดขึ้นตามลำดับ ก็ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 การเปิดประเทศสยามสู่อารยประเทศ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงินตราให้เป็นสากล นำไปสู่การผลิตเงินตราในลักษณะเหรียญกลมแบนออกใช้เป็นครั้งแรก ต่อมารัชกาลที่ 5 จึงทรงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง นับตั้งแต่นั้นเงินตราไทยจึงคงลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน

ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าเงินตราของไทยจะมีประวัติศาสตร์มายาวนานขนาดนี้



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำมาจากไหน

น้ำมีสูตรเคมี H2O หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure : อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ

น้ำมีหลายรูปแบบ เช่น ไอน้ำและเมฆบนท้องฟ้า คลื่นและก้อนน้ำแข็งในทะเล ธารน้ำแข็งบนภูเขา น้ำบาดาลใต้ดิน ฯลฯ น้ำเปลี่ยนแปลงรูปแบบ สถานะ และสถานที่ของมันตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นไอ ตกลงสู่พื้นดิน ซึม ชะล้าง และไหล ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำบนผิวโลกเรียกว่าวัฏจักรของน้ำ

จาก วิกิพีเดีย


นักดาราศาสตร์บอกว่านิวเคลียสธาตุเล็กที่สุด 3 ธาตุ ไฮโดรเจน ฮีเลียมและลิเธียมเกิดหลังบิกแบง 200 วินาที แต่ธาตุหนักอย่างเช่นออกซิเจนเกิดจากการรวมธาตุเบาในดาวยุคแรก เราไม่สามารถมองไกลไปในอวกาศมากหรือมองย้อนอดีตได้ไกลจนเห็นดาวยุคแรก นักทฤษฎีเห็นด้วยกันว่า หลังอะตอมออกซิเจนเกิด มันรวมกับไฮโดรเจน 2 ตัว ไฮโดรเจนอยู่ทุกหนทุกแห่ง และเมื่อมีออกซิเจนสิ่งที่เสถียรมากที่สุดคือน้ำ แม้ไฮโดรเจนรวมกับออกซิเจนเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แต่มัน ไม่มีเสถียรภาพ

นักดาราศาสตร์ใช้ ดาวเทียมสวัสของนาซาที่ปล่อยเมื่อค.ศ. 1998 เพื่อให้เข้าใจว่าที่ไหนมีน้ำและมันเกิดเป็นน้ำได้อย่างไร และกระจายไปในเอกภพที่เห็นได้อย่างไร

ดาวเทียมสวัสได้รับการออกแบบเพื่อตรวจสอบจำนวนมากน้อยของตัวกลางระหว่างดาวด้วย การตรวจสอบก้อนกาซเย็น ที่หายากที่น้ำจะอยู่ในสภาพกาซแม้อุณหภูมิเย็น แต่น้ำที่มืดและไกลย่อมยากที่จะค้นหามันได้ โมเลกุลของน้ำเปิดเผยความมีอยู่ได้จากการคายโฟตอนในความยาวช่วงคลื่น สั้นกว่าช่วงมิลลิเมตร กล้องโทรทรรศน์ที่พื้นดินไมสามารถเห็นรังสีนี้ เพราะมันไม่ทะลุบรรยากาศโลกลงมา หลังจากปล่อยขึ้นสู่อวกาศ ยานสวัสค้นพบโฟตอนของน้ำในก้อนกาซที่ร้อนถึง 27 องศาเซลเซียส เมื่อเริ่มยุบตัวไปเป็นดาว น้ำส่วนใหญ่ที่เห็นมีในอัตราเหลือเชื่อในบริเวณเกิดดาวเช่นนี้

จาก http://sites.google.com/

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

เพชรมาจากไหน

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10

เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียกว่า "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก (อ่านแล้วนึกถึงเกมส์จับคู่เพรชรเลยนะคะ) การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้
การกำเนิด
เพชร เป็นสสารที่แข็งที่สุด โดยเกิดขึ้นจากการที่หินหนืดหรือแมกมา (Magma) ได้เปลี่ยนตัวเองจากธาตุคาร์บอนให้กลายเป็นผลึกคาร์บอนหรือเพชร แต่การที่ธาตุดังกล่าวจะกลายมาเป็นผนึกคาร์บอนหรือเพชรนั้นจะต้องใช้ระยะเวลาหลายพันปีภายใต้พื้นผิวโลกในระดับความลึกถึง 150-250 กิโลเมตร ความดันสูงถึง 70,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร อุณหภูมิ 1,700-2,500 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในระดับชั้นแมนเทิลส่วนบนของโลก (Upper Mantle) จากนั้นผนึกเพชรจะถูกฝังตัวในหินแม่เพริโดไทต์ (Peridotite) และเอโคลไจต์(Eclogite)แล้วแมกมาบางส่วนจะดันหินดังกล่าวเข้าไปในรอยแตกของหินเปลือกโลกด้านบน ผนึกเพชรที่ฝังตัวอยู่ในหินทั้ง 2 ชนิด จะเย็นตัวลงในหินภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) หรือชั้นหินสีน้ำเงิน (Blue Ground) แล้วถูกแมกมาอีกส่วนดันออกมาสู่พื้นผิวโลกโดยการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อผนึกเพชรถูกพ่นออกมากับแมกมา (Magma) จากปล่องภูเขาไฟจะเย็นตัวลงในหินภูเขาไฟ และจะถูกกัดกร่อนทีละน้อยด้วยความร้อน แรงลมและฝนเป็นเวลานานหลายศตวรรษ ซึ่งจะทำให้เพชรหลุดออกจากหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) แล้วถูกกระแสน้ำชะล้างทำความสะอาดและพัดพาไปตกตะกอนที่ก้นแม่น้ำและอาจถูกพัดพาไปเรื่อยจนถึงบริเวณชายหาดมหาสมุทร

การค้นพบ
เพชรถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ผู้ค้นพบเพชรพบว่าเพชรปะปนอยู่กันก้อนกรวดในก้นแม่น้ำสมัยโบราณ เชื่อกันว่า พวกทมิฬ (Dravidians) เป็นผู้ค้นพบเพชรในช่วงอารยธรรมแห่งหุบเขาอินดัส (Indus Valley Civilization) ระหว่างปี 2500 และ 1700 ก่อนคริสตกาล เพชรเหล่านี้มาจากภูเขาไฟระเบิด และถูกน้ำพัดพาไปรวมกันกับก้อนหิน หรวด ทรายก้นแม่น้ำ ทับถมกันเป็นเวลานับล้านๆ ปี

เหมืองเพชร
ชาวอินเดียได้ทำเหมืองเพชรเมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนั้นพวกเขาคิดว่าเพชรเจริญเติบโตในพื้นดินได้เหมือนเมล็ดพืช พวกเขาจึงชั้งน้ำหนัก และกำหนดค่าของเพชร โดยเปรียบกับเม็ดของต้นคารอบ (Carob Tree) ซึ่งเมล็ดนี้ถูกกำหนดให้เป็นมารตฐานในการวัด ต่อมาเมล็ดคารอบแปรเปลี่ยนมาเป็น "กะรัต" (Carat) ซึ่งยังคงเป็นหน่วยที่ใช้วัดน้ำหนักเพชรอยู่ในปัจจุบันนี้ (1 กะรัต เท่ากับ 1/142 ออนซ์ หรือ 0.2 กรัม)

ยุคนั้นอินเดียเป็นแหล่งผลิตเพชรแห่งเดียวของโลก จนกระทั่งช่วงต้นของศตวรรษที่ 18 แหล่งการค้าสำคัญๆ ของยุโรปล้วนติดต่อค้าขายกับอินเดีย ทั้งเวนิส บรุคส์ และลอนดอน อินเดียได้กลายเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายและศูนย์กลางอุตสาหกรรมเพชร ในปี 1725 ได้พบแหล่งเพชรใหม่ที่บราซิล ทำให้ชนชั้นกลางที่ร่ำรวมมีโอกาสเป็นเจ้าของเพชรนอกเหนือจากราชวงศ์และขุนนางชั้นสูงที่มีสิทธิพิเศษในการครอบครองเพชร ในปี 1866 มีการค้นพบแหล่งเพชรได้อีกในแอฟริกาใต้ และเริ่มเกิดการตื่นเพชรขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดเมืองต่างๆ รอบเหมืองเพชรใหม่ มีการจับจองที่ดิน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเสมอกัน ในปีนี้เองถือเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของเพชร ซึ่งทำให้อัญมณีที่สวยงามนี้เป็นที่เอื้อมถึงของคนทั่วๆ ไป ต่อมาก็ได้มีกาารค้นพบแหล่งเพชรเพิ่มขึ้นอีกในดินแดนส่วนอื่นของแอฟริกา และในปี 1945 ได้พบแหล่งเพชรในรัสเซีย ใกล้ๆ ขั้วโลกเหนือแถบตะวันออกของไซบีเรีย ในปัจจุบันนี้มี 21 ประเทศที่มีเหมืองเพชร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีพบที่จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ รัสเซีย และแคนาดา