วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระเบิดมาจากไหน

วัตถุระเบิดนั้น มีการใช้สารที่ทำให้ระเบิด (Explosive materials) เป็นดินระเบิด (bursting charges) ในระเบิด หัวรบจรวด ระเบิดมือ และกับระเบิด และเป็นดินส่ง (propellants) เพื่อยิงกระสุนและเปลือกกระสุนปืนใหญ่ มีการใช้เป็นเชื้อประทุระเบิด (blasting cap) ในการระเบิดทางทหารหรือกิจการพลเรือน เพื่อระเบิดดินในงานด้านวิศวกรรม และการระเบิดอาคาร และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

มีการคาดว่าผู้ประดิษฐ์ระเบิดคนแรกน่าจะอยู่ในยุคจีนโบราณ แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ อัลเฟรด โนเบล ผู้คิดค้นไดนาไมท์ เพื่อช่วยให้งานเหมืองง่ายขึ้น

มีการใช้ดินดำ (Black powder) มาใช้ในงานระเบิดหินครั้งแรกเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17ค.ศ. 1846 Ascanio Sobrero ชาวอิตาลีได้ค้นพบ Nitroglycerine เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัยได้ ปี 1867 Alfred Nobel ชาวสวีเดน ค้นพบวิธีนำ Nitroglycerine มาใช้ได้อย่างปลอดภัยได้เป็นครั้งแรก โดยการใช้ ผงทรายและไดอะตอมไมต์ (Diatomite) มาเป็นตัวดูดซึม Nitroglycerine ได้ส่วนผสมที่เรียกว่าไดนาไมต์ (Dynamite) ต่อมาได้มีการนำเอาขี้เลื่อย และ Sodium nitrate มาเป็นตัวดูดซึม Nitroglycerine ตามลำดับ

ปี 1875 Alfred Nobel ค้นพบวิธีการนำ Nitroglycerine มาผสมกับ Nitrocellulose ในอัตราส่วน 92:8 ได้วัตถุระเบิดชนิดใหม่เรียกว่า Blasting Gelatin ซึ่งนับเป็นวัตถุระเบิดในทางการค้าที่มีพลังการทำลายสูงที่สุด

ปี 1945 มีการพัฒนาวัตถุระเบิดทางการค้าที่เรียกว่า ANFO (Ammonium Nitrate and Fuel Oil) ขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก โดยการนำ Ammonium Nitrate (NH4NO3) มาผสมกับน้ำมันดีเซลในอัตราส่วน 94:6 โดยประมาณ วัตถุระเบิดชนิดนี้เอื้อประโยชน์ต่อวงการวัตถุระเบิดในทางการค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นวัตถุระเบิดที่มีราคาต่ำ มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับราคาวัตถุระเบิดชนิดอื่น
ปี 1950-1960 มีการค้นพบวัตถุระเบิดที่มีองค์ประกอบเหมือนเจล มี Ammonium Nitrate สารอินทรีย์และน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญรียกว่า Water gel

ปี 1960-1970 ค้นพบวัตถุระเบิดที่มี Ammonium Nitrate หรือ Sodium Nitrate และขี้ผึ้งปิโตรเลียม (Petroleum wax) เป็นองค์ประกอบสำคัญ มีลักษณะเป็นของเหลวหนืดเรียกว่าวัตถุระเบิดแบบหนืด (Emulsion Explosive) ส่วนวัตถุระเบิดประเภท เจลน้ำ (Watergel) มีส่วนประกอบสำคัญคือ Ammonium Nitrate และน้ำประมาณ 10-30 % นอกจากนั้นจะมีเชื้อเพลิงที่เป็นสารอินทรีย์ สารประกอบคาร์บอน ผงอะลูมิเนียม หรือ วัตถุระเบิดแรงสูงชนิดอื่นเช่น TNT เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แปรงสีฟันมาจากไหน


การแปรงฟันสมัยก่อนทำโดยใช้เศษผ้าถู ต่อมา พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) หนุ่มชาวอังกฤษชื่อ วิลเลียม แอดดิส (William Addis) ชาวเมืองเคิร์กเคนวอลล์ ซึ่งเป็นนักโทษขณะนั้นได้ลองเก็บกระดูกชิ้นหนึ่งซึ่งเหลือจากอาหารเย็นของเขามาเจาะรูเล็กๆ เรียงเป็นแนวที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วไปขอขนแปรงจากผู้คุมมาได้จำนวนหนึ่ง ตัดให้สั้นพอเหมาะแล้วยัดลงไปในรู ตรึงให้อยู่ด้วยกาว จึงเกิดเป็นแปรงสีฟันอันแรกของโลก พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) เมื่อเขาพ้นโทษออกจากคุก แอดดิสเริ่มธุรกิจผลิตแปรงสีฟัน ผลิตภัณฑ์ของเขาได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แก้วมาจากไหน

แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture)

แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper)


จาก วิกิพีเดีย



ประวัติความเป็นมา

ตามตำราของพลินี ดิ เอลเดอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน เขียนไว้ว่า กลาสีที่อาศัยอยู่แถบโพลิเนเชียนเป็นผู้ค้นพบแก้ว

เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อน มีพ่อค้าชาวโพลิเนเชียน เดินทางไปค้าขายตามเมืองต่างๆ ภายในเรือของพวกเขาบรรทุกเกล็ดโซฟาเต็มลำเรือทีเดียว ในขณะที่กำลังล่องเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้เกิดอุบัติเหตุให้เรือของพวกเขาไปเกยตื้นอยู่ที่ปากแม่น้ำแห่งหนึ่งใกล้ๆ กับ Sand Bank ผู้โดยสารทั้งหมดจึงขึ้นบก เพื่อรอเรือช่วยเหลือมารับกลับไป ระหว่างรอ พวกเขาก็เริ่มหิว จึงได้เอาเอาเกล็ดโซดาก้อนใหญ่ในเรือมาหนุนหม้อใบใหญ่สำหรับปรุงอาหาร และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว เตรียมตัวเก็บหม้อ ทำความสะอาดสถานที่ พวกเขาได้พบว่าเกล็ดโซดาก้อนใหญ่ได้ละลายรวมกับทราย และได้หลอมตัวเป็นก้อนแก้วที่สวยงาม เป็นความน่าแปลกประหลาดมากทีเดียว โพลิเนเชียน ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้าอยู่แล้ว ได้จำวิธีนี้ไว้ทันที เมื่อกลับไปที่เมืองของตนสำเร็จพวกเขาได้นำวิธีนี้ไปทดลองจนสำเร็จ โดยมีส่วนผสมในการทำแก้วคือ ทราย เกล็ดโซดา และซิลิก้าก็หล่อหลอมออกมาเป็นแก้วที่สวยงาม และพวกเขาก็ได้นำแก้วไปขายตามที่สถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และนั่นก็คือที่มาของแก้วนั่นเอง

แต่ก็มีความเชื่อว่า แก้ว เกิดก่อนหน้านั้นหลายพันปีทีเดียว ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล แถบเมโสโปเตเมีย หรือประเทศซีเรียและอิรักในปัจจุบัน

แม้ว่าที่มาของช่วงเวลายังสรุปได้ไม่แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่มนุษย์ผลิตแก้วและกระจกอยู่ราว 50 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวโรมัน

การผลิตแก้วใช้ปูนและโซดาผสมเข้ากับซิลิก้า ซึ่งมีอยู่ในเม็ดทราย ซิลิก้ามีจุดหลอมเหลวสูงมาก จะใช้ไฟธรรมดาหลอมไม่ได้ ต้องเข้าเตาหลอมพิเศษ อุณหภูมิสูงราว 1,590 องศาเซลเซียส

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นาฬิกามาจากไหน

นาฬิกา เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ สร้างขึ้นมาเพื่อต้องการเครื่องมือบอกเวลาที่ละเอียดกว่าหน่วยธรรมชาติ เช่น เช้า กลางวัน เย็น ข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งก็ได้มีการสร้างอุปกรณ์และพัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นนาฬิกาที่ใช้กันทุกวันนี้

ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่มีนาฬิกาใช้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดวงอาทิตย์จึงเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่มนุษย์รู้จัก นักประวัติศาสตร์ชื่อ Herodotus ได้บันทึกไว้ว่า ประมาณ 3,500 ปีก่อน มนุษย์รู้จักใช้ นาฬิกาแดด ซึ่งนับว่าเป็นนาฬิกาเรือนแรกของโลก โดยสามารถอ่านเวลาได้จากเงาที่ตกทอดลงบนขีดเครื่องหมาย

นาฬิกาแดด(Sundial)เป็นเครื่องบอกเวลาและเครื่องมือวัดเวลา

วิธีธรรมชาติแบบหนึ่ง ทีมีใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ปรากฎในแต่ละวันเป็นหลัก สมัยโบราณก่อนที่จะเริ่มมีนาฬิกาจักรกลหรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ใช้บอกเวลาเช่นในปัจจุบันมนุษย์ใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากธรรมชาติเพื่อการกำหนดเวลา

โดยเฉพาะใช้ดวงอาทิตย์เป็นเครื่องชี้บอกเวลาธรรมชาติที่สำคัญที่สุด เช่นเวลาเช้าดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาเที่ยงดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ เวลาเย็นค่ำดวงอาทิตย์ตกลับจากขอบฟ้าส่วนเวลากลางวัน ในช่วงเวลาอื่นก็อาศัยสังเกตดูจากการทอดเงา ของวัตถุใดวัตถุหนึ่งที่กำหนดให้เป็นเครื่องบอกเวลาของคนในท้องถิ่นนั้น ซึ่งอาจไม่มีความเที่ยงตรง แต่ก็ยอมรับได้สมัยนั้นมาใช้กำหนดเวลาด้วยหลักการตามที่กล่าวมา มนุษย์ในระยะแรกจึงได้ประดิษฐ์คิดค้นนาฬิกาแดด (Sundisl)ให้มี รูปทรงที่เหมาะสมขึ้นมาใช้งานเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างง่าย

นาฬิกาแดดคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฎ แต่จากหลักฐานพบว่านาฬิกาแดดพัฒนาขึ้น ในสมัยอียิปต์โบราณหรือราว 2000ปี มาแล้ว นาฬิกาแดดนั้นแสดงเวลาที่อาจคลาดเคลื่อนไป จากเวลานาฬิกาข้อมือของผู้สังเกต แต่ถ้าได้เข้าใจหลักการของนาฬิกาแดดแล้วนำค่าเวลามาแก้ไข เวลาที่ได้จะมีความถูกต้องพอสมควร ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฬิกาแดดนั้น แสดงเวลาธรรมชาติที่ควรจะเป็น ซึ่งต่างจากเวลาของนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาทั่วไปที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บอกวัดเวลาหรือแสดงเวลาที่ต้องการให้เป็น หมายความว่าเวลาที่ แสดงจากนาฬิกาแดดนั้นเป็นเวลาที่เราเรียกว่าเวลาดวงอาทิตย์ ณ ตำบลที่นั้นอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่เวลาท้องถิ่นสมมุติ หรือเวลาที่เราต้องการให้เป็น

ต่อมาชาวกรีกโบราณรู้จักพัฒนา นาฬิกาน้ำ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านาฬิกาแดด เรียกว่า clepsydra ( คำนี้เป็นคำสนธิที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งแปลว่า ขโมย และคำ sydra ที่แปลว่า น้ำ ) เพราะนาฬิกานี้ทำงานโดยอาศัยหลักที่ว่า " ภาชนะดินเผาที่มีน้ำบรรจุเต็มเวลาถูกเจาะที่ก้นน้ำจะไหลออกจากภาชนะทีละน้อยๆ เหมือนการขโมยน้ำ " ดังนั้นชาวกรีกโบราณจึงได้กำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจนหมดภาชนะว่า 1 clepsydra แต่นาฬิกาน้ำนี้ต้องมีการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และในฤดูหนาวน้ำจะแข็งตัวทำให้ไม่สามารถใช้นาฬิกาได้

นาฬิกาน้ำของอียิปต์ เมื่อประมาณ 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล อาศัยน้ำหยดออกจากรูข้างใต้ภาชนะ

ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว

นาฬิกาแดด ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

สำหรับประเทศไทย คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้เองเมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีวลีที่กำชับรับสั่งกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด มีความว่า " สยามจะอยู่รอด รักษาความเป็นไทไม่เป็นขี้ข้าฝรั่ง จะต้องทำให้คนไทยเชื่อมั่น และต่างชาติเชื่อว่าคนไทยนี้เก่ง " จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม ชื่อ Captain Loftus จัดทำ นาฬิกาแดด ไว้ให้เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกเวลา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนทุกวันนี้

นอกจากนี้ยังมีนาฬิกาแบบอื่นๆ ซึ่งใช้บอกอีก เช่น นาฬิกาทราย ใช้จับเวลา, นาฬิกากะลา เป็นกะลาเจาะรูใช้จับเวลา โดยการลอยในน้ำ จนกว่าจะจมก็ถือว่าหมดเวลา



ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/

พลาสติกมาจากไหน

พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์

พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์รู้จักมานานกว่า ๑๓๐ ปี และนำมาใช้ประโยชน์ แทนโลหะ ไม้ หรือวัสดุธรรมชาติอื่นๆ เช่น ทำเส้นใยสำหรับผลิตสิ่งทอ หล่อเป็นลำเรือและชิ้นส่วนของยานยนต์ ภาชนะ และวัสดุ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆอีกมาก

มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมี และทำพลาสติกขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๘ โดย จอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John Wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองผลิตวัสดุชนิดหนึ่งจากปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรต กับการบูร ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถทำเป็นแผ่นแบนบาง มีความใสคล้ายกระจก แต่ม้วนหรืองอได้ และได้เรียกชื่อตาม วัตถุดิบที่ใช้ว่า “เซลลูโลสไนเทรต” ต่อมา พลาสติกชนิดนี้ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเป็นที่นิยม เรียกว่า “เซลลูลอยด์” (Celluloid) การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเชิงอุตสาหกรรมได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีพลาสติกชนิดอื่นๆเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย

อุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในระยะแรกมีการนำเข้าพลาสติกเรซินจาก ต่างประเทศ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกกันประปราย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงต้องนำเข้าเรซินจากต่างประเทศเช่นกัน จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๑๔ ประเทศไทยจึงสามารถผลิตพลาสติกเรซินคือ พีวีซี ได้เองเป็นชนิดแรก ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตพลาสติกได้อีกหลายชนิด เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรไพลีน พอลิสไตรีน และพอลิเอสเทอร์

วัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้สำหรับการผลิต พลาสติกคือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่ธาตุต่างๆ เป็น ส่วนใหญ่ นอกจากนี้อาจผลิตจากน้ำมันพืช และส่วนต่างๆของพืชได้เช่นกัน
- ปิโตรเลียม
ปิโตรเลียมเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกแทบทุก ชนิด ประเทศไทยมีแหล่งผลิตปิโตรเลียม หลายแห่ง แต่ไม่มีการนำมาทำประโยชน์ ในด้านผลิตภัณฑ์พลาสติก มีเพียงการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และสามารถ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก ที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโอเลฟิน (Olefins) เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน และเพนเทน และสารในกลุ่มอะโรแมติก (Aromatics) เช่น เบนซีน และอนุพันธ์ของเบนซีน สารทั้ง ๒ กลุ่มสามารถนำมาผลิตมอนอเมอร์ได้มากมายหลายชนิด
- ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติที่พบในประเทศไทยมีส่วนประกอบเป็นสารไฮโดรคาร์บอน ที่ สำคัญคือ มีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทน เป็นส่วนใหญ่ สารไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนมอนอเมอร์ และโพรไพลีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นสำหรับการผลิตพลาสติกหลายชนิด
- ถ่านหินและลิกไนต์
ประเทศไทยมีแหล่งลิกไนต์สำคัญ ๒ แห่งคือ ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่จังหวัดกระบี่ ประโยชน์ของลิกไนต์นอกจาก ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า แล้ว ยังใช้ผลิตเบนซีน และอนุพันธ์ของ เบนซีน เช่น สไตรีนมอนอเมอร์ ได้ด้วย
- พืชและน้ำมันพืช
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกบาง ชนิด ได้แก่ ส่วนต่างๆของพืชและน้ำมันพืช เช่น เซลลูโลส เชลแล็ก และกรดไขมันต่างๆ
- แร่ธาตุต่างๆ
สินแร่บางชนิด เช่น ถ่านโค้ก และหินปูน เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอะเซทิลีน นอกจากนี้ คลอรีนที่ผลิตได้จากน้ำทะเล ตลอดจนแร่ใยหินได้นำมาใช้ สำหรับผลิตพลาสติกเสริมแรง
วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารเริ่มต้นสำหรับการ ผลิตพลาสติกที่ได้จากแหล่งต่างๆนั้นจะมีลักษณะเป็นสารไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลเดี่ยว เรียกว่า มอนอเมอร์ ที่สำคัญ ได้แก่ เอทิลีน ไวนิลคลอไรด์ ไวนิลฟลูออไรด์ โพรไพลีน บิวทาไดอีน เบนซีน ไซลีน ฟีนอล ยูเรีย และฟอร์มาลดีไฮด์


ข้อมูลจาก http://kanchanapisek.or.th/