วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

น้ำยาลบคำผิดมาจากไหน



น้ำยาลบคำผิด เป็นของเหลวสีขาวทึบใช้สำหรับป้ายทับข้อความผิดพลาดในเอกสาร และเมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับได้ โดยปกติน้ำยาลบคำผิดจะบรรจุอยู่ในขวดเล็ก และมีฝาซึ่งมีแปรงติดอยู่ (หรืออาจเป็นชิ้นโฟมสามเหลี่ยม) ซึ่งจุ่มน้ำยาอยู่ในขวด แปรงนั้นใช้สำหรับป้ายน้ำยาลงบนกระดาษ


นางเบ็ต เนสมิธ เกรแฮม (Bette Nesmith Graham) ทำงานในหน้าที่เลขานุการเวลาที่เธอพิมพ์งานผิด เธอต้องเจอกับปัญหาการพิมพ์ผิด ซึ่งเธอใช้ยางลบดินสอเป็นตัวช่วยลบทำให้การทำงานทั้งล่าทั้งช้า และไม่เรียบร้อย ต่อมามีเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าออกมาใช้ คราวนี้เธอเผชิญปัญหาหนักกว่าเก่า เพราะไม่สามารถใช้ยางลบดินสอลบทำผิดได้อีกต่อไป ต้องพิมพ์ใหม่สถานเดียว เธอจึงหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการประดิษฐ์น้ำยาลบคำผิดขึ้นมา 


ในปี ค.ศ.1950 เธอก็ค้นพบวิธีทำน้ำยาลบหมึกแบบง่าย เพียงใช้สีน้ำสีขาวบรรจุลงในขวดน้ำยาทาเล็บ ใช้พู่ป้ายน้ำยาทาเล็บป้ายสีขาวลงบนกระดาษ แค่นี้คำผิดก็ลบไป พิมพ์ซ้ำทับได้แนบเนียน ใช่งาย รวดเร็ว และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรดาเพื่อนร่วมงานเห็นเช่นนั้น ก็ขอน้ำยาลบหมึกของเธอมาใช้กันบ้าง และนี่ก็คือจุดกำเนิดน้ำยาป้ายคำผิด Liquid Paper 


เมื่อมีความต้องการน้ำยาป้ายคำผิดมากๆ นางเกรแฮมจึงพัฒนาสีน้ำสีขาว และทำการผลิตที่บ้านออกจำหน่าย ด้วยการผสมสีขาวลงในเครื่องปั่น กรอกใส่ขวดยาทาเล็บ เป็นอุสาหกรรมครอบครัวยาวนานถึง 17 ปี ต่อมาในปี ค.ศ.1979 เธอได้ขายกิจการให้บริษัทยิลเล็ต (Gillette) ในราคาที่สูงถึง 47.5 ล้านดอลลาร์ โดยสามารถผลิต Liquid Paper ได้ถึง 25 ล้านขวด ออกจำหน่ายไปทั่วโลก 








ขอบคุณข้อมูลจาก narak.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น