วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แสตมป์มาจากไหน



แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (Postage stamp หรือ Stamp) เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมเพื่อติดบนซองจดหมาย แสตมป์ที่มีรูปร่างหรือทำจากวัสดุอื่นก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง

แสตมป์มักพิมพ์ออกเป็นแผ่น ประกอบด้วยแสตมป์หลายดวง ปกติอยู่ระหว่าง 20 ถึง 120 ดวง มีการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก รอยฉีกที่ได้เรียกว่า ฟันแสตมป์ ด้านหลังแสตมป์มีกาวเคลือบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์มักมีสิ่งพิเศษไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (watermark) หรือ ด้ายสี

หากติดแสตมป์เพื่อใช้งานบนซองแล้ว ต้องมีการประทับตราทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก
การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

แนวคิดเรื่องการใช้แสตมป์เป็นค่าไปรษณีย์ริเริ่มโดยนาย เจมส์ ชาลเมอส์ (James Chalmers) ชาวสกอตแลนด์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) ซึ่งความคิดดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับต่อมาใน พ.ศ. 2382 ภายใต้การผลักดันของ เซอร์ โรว์แลนด์ ฮิลล์ (Sir Rowland Hill) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 ก็ได้ออกแสตมป์ดวงแรกของโลกคือ แสตมป์เพนนีแบล็ค (Penny Black) มีราคาหน้าดวง 1 เพนนี ซึ่งเป็นอัตราค่าไปรษณีย์สำหรับจดหมาย สามารถส่งได้ทุกปลายแห่งด้วยอัตราเดียวกันและเริ่มมีผลบังคับใช้ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 เนื่องจากสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ออกแสตมป์ สหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union หรือ UPU) กำหนดให้สหราชอาณาจักรเป็นชาติเดียวที่ยกเว้นไม่ต้องพิมพ์ชื่อประเทศบนดวงแสตมป์ดังเช่นของประเทศอื่นๆ

แสตมป์ชุดแรกของไทย คือ แสตมป์ชุดที่หนึ่ง หรือ ชุดโสฬศ ออกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ประกอบด้วยแสตมป์ราคา หนึ่งโสฬส (ครึ่งอัฐ) , หนึ่งอัฐ, หนึ่งเสี้ยว (สองอัฐ) , หนึ่งซีก (สี่อัฐ) , หนึ่งสลึง (สิบหกอัฐ) แสตมป์อีกดวงราคาหนึ่งเฟื้อง (แปดอัฐ) มาถึงล่าช้าและไม่มีการใช้งานจริงทางไปรษณีย์ แสตมป์ชุดนี้ออกแบบและพิมพ์ที่บริษัท วอเตอร์โลว์แอนด์ซันส์ (Waterlow and Sons) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในช่วงนั้นไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ แสตมป์ชุดนี้จึงยังไม่มีชื่อประเทศปรากฏบนดวง ส่วนแสตมป์ที่สั่งพิมพ์ชุดต่อๆ มาเป็นไปตามกฎของสหภาพสากลไปรษณีย์ กล่าวคือ มี ชื่อประเทศและราคาในภาษาอังกฤษ และ มีคำว่า "postage" ซึ่งหมายถึงเป็นการชำระค่าไปรษณีย์

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรรไกรมาจากไหน



กรรไกร (Scissors) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดวัสดุบางๆ โดยใช้แรงกดเล็กน้อย โดยใช้ตัดวัสดุเช่น กระดาษ กระดาษแข็ง แผ่นโลหะบาง พลาสติกบาง อาหารบางอย่าง ผ้า เชือก และสายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อตัดผมก็ได้ ส่วนกรรไกรขนาดใหญ่อาจใช้ตัดใบไม้และกิ่งไม้ ซึ่งมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ

ในภาษาไทย โดยมากเรียก "กรรไกร" แต่บางถิ่นเรียก "ตะไกร", "ไกร", หรือ "มีดตัด" สำหรับกรรไกรโดยทั่วไป ในภาษาอังกฤษเรียกว่า scissors แต่ในอุตสาหกรรม จะเรียกกรรไกรที่มีความยาวมากกว่า 15 เซนติเมตร ว่า shears

กรรไกรถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ 1500 ปีก่อนคริสตกาล ในประเทศอียิปต์ แต่ในตอนนั้นมีรูปร่างยาวโดยมีจุดเชื่อมที่ด้านท้าย ทำเป็นรูปตัวยู ซึ่งกรรไกรเกิดขึ้นเนื่องจากเรื่องของการค้าขาย เพราะต้องการของคมๆ ไว้ใกล้ตัว เวลาจะบรรจุของลงหีบห่อ หรือใช้ตัดของได้สะดวก

กรรไกรได้ดำรงอยู่มานานมาก ในตอนแรก รูปทรงอาจจะใช้ยาก แต่ต่อมาชาวโรมันก็เอาปรับแก้ไขให้รายละเอียดมีมากขึ้นเป็นกรรไกรด้ามตัดไขว้แบบปัจจุบัน เมื่อปี ค.ศ. 100 ทำให้กรรไกรใช้ได้ง่ายกว่าเดิมมาก

ในตอนแรก กรรไกรนั้นไม่มีรูด้ามจับ เป็นแบบราบเรียบแข็งๆ ไปเลย แต่ต่อมา Robert Hinchliffe ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นการเจาะรูบนด้ามกรรไกรขึ้น ทำให้กรรไกรใช้ง่ายขึ้นมาก และต่อมาในฟินแลนด์ ก็มีการนำเหล็กมาใช้ทำกรรไกร ทำให้กรรไกรมีหลากหลายแบบมากขึ้น

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไม้ขีดไฟมาจากไหน



ไม้ขีดไฟ คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจุดไฟ ทำจากแท่งไม้อันเล็กๆ และมีสารติดไฟชุบอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งเรียกว่า หัวไม้ขีด ไม้ขีดไฟมักขายในบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องเรียกว่า กล่องไม้ขีด เวลาจุดไฟจะใช้หัวไม้ขีดฝนลงไปกับพื้นผิวขรุขระหรือพื้นผิวที่ทำมาเฉพาะข้างกล่อง ความร้อนจากการฝนหัวไม้ขีดจะทำให้ไม้ขีดติดไฟ

ปี พ.ศ. 2370 (ต้นสมัยรัชกาลที่ 3) มีนักเคมีชาวอังกฤษชื่อ จอห์น วอล์คเกอร์ ทำไม้ขีดจากเศษไม้จุ่มปลายลงในส่วน ผสมของ แอนติโมนีซัลไฟด์โปตัสเซียมคลอเรตและกาวซึ่ง ทำจากยางไม้ หรือ gumarabic เมื่อนำไม้ขีดไฟขูดลงบนกระดาษทรายจะเกิดแรงเสียดสี ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่ทำให้ไม้ขีดลุกเป็นไฟ ไม้ขีดแบบที่ จอห์น วอล์คเกอร์ ประดิษฐ์เป็นแบบเดียวกันกับไม้ขีดประเภท "ขีดกับอะไรก็ได้" แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะติดไฟทุกครั้ง ไม้ขีดไฟชนิดนี้เพิ่งคิดค้นได้หลังจากการประดิษฐ์ไฟแช็กถึง 4 ปี[1]

ถึงปี พ.ศ. 2373 ในประเทศฝรั่งเศส ชาร์ลส์ โซเรีย ได้คิดค้นไม้ขีดไฟที่มีปลายทำจากฟอสฟอรัสเหลือง แต่ช่วงสิ้นศตวรรษที่ 19 หัวไม้ขีดมีส่วนประกอบของฟอสฟอรัสเหลืองหรือขาวมีพิษทำให้คนงานในโรงงานผลิต ไม้ขีดไฟเจ็บป่วยถึงพิการหรือเสียชีวิตด้วยโรคที่เรียกกันว่า phossy jaw

ในช่วง พ.ศ. 2383 หรือปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการค้นพบฟอสฟอรัสแดงซึ่งทำให้ผลิตไม้ขีดได้อย่างปลอดภัย แต่ไฟจะติดได้ก็ต้องจุดเฉพาะพื้นที่ที่เตรียมไว้เท่านั้น ผิวสำหรับขีดอยู่ข้างกล่องไม้ขีดมีฟอสฟอรัสแดง ทาติดอยู่ ด้วยยางไม้ gumarbic หรือกาวชนิดอื่น ส่วนที่หัวไม้มีโปแตสเซียมคลอเรตซึ่ง เมื่อกระทบกับ ฟอสฟอรัสแดง ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้ความร้อนมากพอและไฟจะติดขึ้นได้ เรื่องยังมีวัสดุอื่นๆอีกที่สามารถใช้เป็นก้านไม่ขีดไฟได้เช่น ด้ายเคลือบขี้ผึ้ง และกระดาษแข็งเคลือบขี้ผึ้ง แต่วัสดุที่ใช้ทำก้านไม้ขีดได้ดีที่สุดก็คือไม้ ลักษณะไม้ซึ่งเหมาะสำหรับทำก้านไม้ขีดควรจะเป็นไม้สีขาว ไม่มีกลิ่น เนื้อไม้ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป นิยมใช้ไม้มะยมป่า ไม้มะกอก ไม้อ้อยช้าง ไม้ปออกแตก เป็นต้น ก่อนจุ่มทำหัวไม้ขีดจะต้องเอาปลายก้านไม้ขีดที่จะติดหัวนั้นไปจุ่มขี้ผึ้งพาราฟินก่อน หากเนื้อไม้แข็งเกินไปก็จะไม่ดูดซึมพาราฟิน พาราฟินจะเป็นตัวส่งผ่านจากหัวไม้ขีดไปสู่ก้านไม้ขีด หากไม่มีพาราฟิน เมื่อไฟติดก็จะดับในทันที และหากเนื้อของไม้อ่อนจนเกินไปก้านไม้ขีดก็จะไม่คงรูปเป็นก้านตรงได้

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บอลลูนมาจากไหน

บัลลูน หรือ บอลลูน (balloon) เป็นยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางทางอากาศ ด้วยหลักการของแรงลอยตัว (Buoyancy) และเคลื่อนที่ด้วยลม มีหลักฐานการสร้างในประเทศจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ต่อมาในทวีปยุโรปมีการทดลองสร้างเป็นพาหนะสำหรับใช้เดินทางทางอากาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1709 ที่กรุงลิสบอน ประเทศสเปน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1783 พี่น้องมองต์โกลฟีเอร์ (Montgolfier) ชาวฝรั่งเศส ประสบความสำเร็จในการใช้บัลลูนขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนด้วยอากาศร้อน เดินทางที่ความสูง 500 ฟุตในอากาศ เป็นระยะทาง 5 1/2 ไมล์ ใช้เวลา 25 นาที ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกที่ ปารีส และนับเป็นก้าวแรกของการเดินทางด้วยบัลลูนอย่างแท้จริง

ด้วยความฉลาดของมนุษย์ที่สังเกตเห็นว่า ควันไฟลอยสูงขึ้นในอากาศ สองพี่น้องชาวฝรั่งเศสในสกุลมองต์โกลฟีเอร์ คิดทำบอลลูนให้ลอยสูงขึ้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 1783 โดยบรรจุอากาศร้อนไว้ภายในบอลลูน เพื่อทำให้เกิดแรงยกเพราะอากาศร้อนเบากว่าอากาศเย็นต่อจากนั้นก็ได้มีการคิดค้นสร้างอากาศยานประเภทเบากว่าอากาศและเรือเหาะซึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรกลขึ้น และพัฒนาขึ้นตามลำดับ

บอลลูนลอยอยู่ในอากาศได้เพราะภายในบอลลูนบรรจุก๊าซที่เบากว่าอากาศไว้ เช่นไฮโดรเจน ฮีเลียมหรืออากาศร้อน ทำให้ความหนาแน่นรวมของบอลลูน ต่ำกว่าความหนาแน่นของอากาศโดยรอบ บอลลูนจึงลอยอยู่ในอากาศด้วยหลักการของอาร์คีมิดิส เช่นเดียวกับที่ไม้ลอยน้ำ เหล็กลอยในปรอท ความสามารถในการยกน้ำหนักของบอลลูนจึงขึ้นอยู่กับปริมาตรของบอลลูนและความหนาแน่นของอากาศโดยรอบบอลลูนนั้น

บอลลูนอากาศร้อนถูกประดิษฐ์โดยพี่น้องมองต์โกลฟีเอร์ ชาวฝรั่งเศษ ใช้หลักการการลอยการจมโดยอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น

กว่า 200 ปี มาแล้ว มีผู้สร้างบอลลูนขึ้นในฝรั่งเศส ในบอลลูนลูกนี้มีอากาศร้อนบรรจุอยู่ จึงลอยขึ้นไปได้เช่นเดียวกับอากาศร้อนเหนือเตาไฟ ผู้ที่ทำบอลลูนนี้คือ พี่น้องมองต์โกลฟีเอร์ (Montgolfier) ต่อมาในปีเดียวกัน ศาสตราจารย์ ชารลส์ แห่งปารีส ได้ใช้ก๊าซไฮโดรเจนบรรจุเข้าไปในบอลลูน แทนที่จะใช้อากาศร้อน ทำให้บอลลูนลอยขึ้นไปในอากาศได้ และตัวเขาเองก็ได้ขึ้นไปกับบอลลูนด้วย หัวเผาไหม้ทำให้อากาศร้อนขึ้นที่บริเวณฐานบอลลูนและเนื่องจากอากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็นที่อยู่รอบๆ จึงลอยขึ้นไปอัดอยู่กับปลอกหุ้ม ในที่สุดบอลลูนก็จะลอยสูงพอที่ยกตระกร้าและผู้โดยสารขึ้นจากพื้น

โจเซฟ มองต์โกลฟิเอร์ : มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี ค.ศ. 1740 - 1810
ยัค มองต์โกลฟีเอร์ : มีชีวิตอยู่ในช่วง ปี ค.ศ. 1744 – 1799

โจเซฟ และ ยัค  มองต์โกลฟีเอร์ เกิดใกล้ๆ กับเมืองลีอองส์ ประเทศฝรั่งเศส บิดาของพวกเขาทำโรงงานกระดาษและทั้งสองพี่น้องก็ทำงานที่นั่นหลังจากหลังจากสำเร็จการศึกษา

ทั้งคู่สนใจในเรื่องการบิน เมื่อได้ยินเกี่ยวกับผลงานของนักเคมีชาวอังกฤษ ชื่อเฮนรี่ คาเวนดิช ที่ค้นพบว่าไฮโดรเจนนั้นเบากว่าอากาศ พวกเขาก็มีความมุ่งมั่นที่จะบรรจุไฮโดรเจนใส่ถุง ทว่าก๊าซนั้นระเหยออกมาหมด ต่อมาในปี ค.ศ. 1782 พวกเขาก็ถือกระดาษที่กำลังลุกไหม้ไว้ใต้ถุงผ้าไหมที่เปิดปากไว้ ทำให้ถุงลอยขึ้นมาได้ ในปีถัดมาพวกเขาจึงทำการทดลองนั้นซ้ำด้วยสัดส่วนที่ใหญ่กว่าเดิมมาก คราวนี้บอลลูนบรรทุกผู้โดยสารทางอากาศกลุ่มแรกขึ้นไป ซึ่งก็ได้แก่ แกะ เป็ด และไก่ และในวันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน ปีเดียวกัน บอลลูนที่มีคนขึ้นไปด้วยลูกแรกก็ออกเดินทางขึ้นจากอุทยาน บวา เดอ บูลอน ที่กรุงปารีส และลงจอดในระยะทางห่างออกไปอีกห้าไมล์

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เตารีดมาจากไหน



“อุดเตา” เป็นภาษาไทยโบราณ ใช้เรียกเครื่องใช้ที่ปัจจุบันเราเรียกว่า “เตารีด” และเป็นเตารีดที่ใช้กันในสมัยก่อนเมื่อประมาณ ๕๐ ปีมาแล้ว อุดเตารูปทรงน่าสนุกกลุ่มนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ได้รับมอบจาก ดร.วินิจ วินิจนัยภาค เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ปัจจุบันได้ทำการอนุรักษ์และเก็บรักษา ณ อาคารคลังกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี

เตารีดใช้ถ่าน จะทำด้วยทองเหลืองหล่อดังรูป ฝาด้านบนมีบานพับด้านท้ายเตา(เปิดฝาบนหงายขึ้น)
ด้านปลาย มีสลักงอๆ ที่ใช้แรงโน้มถ่วงเป็นตัวทำให้ล็อก จะเปิดได้โดยหาฉนวนความร้อนเขี่ยเบาๆก็จะเปิดออกได้โดยง่าย ในการใช้งานนานๆ อาจจะต้องเติมถ่าน หรือ เขี่ยถ่านให้ขี้เถ้าล่วงลงไป จะต้องเปิดฝาเพื่อการดังกล่าว ในเตาที่ด้านล่างจะมีตะแกรง เหล็กหล่อสูงราว 1ซมจากพื้นและขอบล่างจะมีรูเล็กๆให้อากาศเข้ามาช่วยการเผาไหม้แบบข้าๆ การใช้งานจะติดถ่านจากเตาถ่านธรรมดาก่อน เมื่อเริ่มติดดีแล้วก็จะคีบมาใส่เตา กลบด้วยขี้เถ้าพอประมาณ เพื่อไม่ให้ร้อนเกินไป (เหมือนการปิ้งกล้วย) มิฉนั้นผ้าอาจไหม้ได้โดยง่าย ต้องใช้ความชำนาญในการใช้พอสมควรว่าจะคุมความร้อนเย็นของเตาให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าที่จะทำการรีด ปรับโดยเติมขี้เถ้าหรือเขี่ยออกให้ถ่านร้อนขึ้น (อากาศเพิ่มมากขึ้น)

ผู้ประดิษฐ์เตารีดไฟฟ้าเป็นคนแรก (โรเบิร์ต แฮร์ ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2324)
การใสเสื้อผ้าที่เรียบไม่ยับเป็นส่วน การเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดี เตารีดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนที่อำนวยความสะดวกในการทำให้เสื้อผ้าเรียบและสวยงาม
เตารีดไฟฟ้าโดยทั่วไปแบ่งได้ดังนี้

1. เตารีดไฟฟ้าแบบธรรมดา(Electric Irons)
การทำงาน
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นความร้อนจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่แผ่นความร้อนส่งผ่านไปยังพื้นเตารีดมากเกินไปจะต้องดึงปลั๊กไฟของเตารีดออกเพื่อให้พื้นของเตารีดค่อยๆ เย็นลง แต่ความร้อนน้อยต้องเสียบปลั๊กไฟ เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นความร้อนอีกครั้ง

2. เตารีดไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ( Automatic Electric Irons)
การทำงาน
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าเตารีด จะผ่านไปยังหน้าสัมผัส ลวดความร้อน และลวดความต้านทานตามลำดับซึ่งจะทำให้แผ่นความร้อนเกิดความร้อนส่งผ่านความร้อน ให้กับพื้นของเตารีด และแผ่นไบ-เมทอลที่ยึดติดกับพื้นเตารีด ก็ได้รับความร้อนไปด้วยเมื่อแผ่นความร้อนไป-เมทอลได้รับความร้อนจะเกิดการงอตัวตามปริมาณความร้อนที่ได้รับส่งผลทำให้แรงกดระหว่างหน้าสัมผัสน้อยลงจนพื้นเตารีดร้อนจนถึงระดับที่ตั้งไว้หน้าสัมผัสก็จะตัดกระแสไฟไม่ให้ไหลผ่านแผ่นความร้อนทำให้เตารีดเย็นลงแผ่นไบ-เมทอลจะเริ่มเหยียด
ตรงตามเดิม จากนั้นหน้าสัมผัสก็ต่อกระแสไฟฟ้าให้กับแผ่นความร้อนอีกครั้ง

3. เตารีดไอน้ำ(Electric Steam Iron)
เตารีดไอน้ำได้พัฒนามาจากเตารีดแบบอัตโนมัติ ซึ่งเตารีดชนนิดนี้ไม่จำเป็นต้องพรมน้ำ
ให้กับผ้า แต่จะให้ไอน้ำกับเตารีดโดยตรง สำหรับส่วนประกอบและหลักการทำงานของเตารีดไอน้ำจะคล้ายกับเตารีดแบบอัตโนมัติ นั่นคือมีแผ่นความร้อนเป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนและมีเทอร์โมสแตตเป็นอุปกรณ์ควบคุมอุนหภูมิของเตารีดจะแตกต่างกันที่เตารีดไอน้ำมีอุปกรณ์สำหรับใส่น้ำเพื่อสร้างไอน้ำให้กับผ้าที่ต้องการรีด



ข้อมูลจาก  http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/08/12/entry-1

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กล้องถ่ายรูปมาจากไหน



กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่างๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร

มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้น ใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา คือ

1. ฟิสิกส์ ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ

2. เคมี ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ

การถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน คือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ ไปปรากฏบนฉากรองรับ และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร

อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีใจความว่า.. "ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ"

ต่อมาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ "กล้องออบคิวรา" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายถึง "ห้องมืด" หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "กล้องรูเข็ม" นั่นเอง

วิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Photography" มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก โดย "Phos = แสงสว่าง" และ "Graphein = เขียน" เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง "เขียนด้วยแสงสว่าง"  แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิดขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง และครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป การล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพ และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

กล่าวโดยสรุป วิชาการถ่ายรูปก็คือ "ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย" นั่นเอง

สำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบันนี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น และยังมีภาพถ่ายสถานที่ ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย

ตั้งแต่ที่มีการคิดค้นการถ่ายภาพ จนปรากฏภาพถ่ายแรกของโลกที่เรารู้จักและมีหลักฐานมาถึงวันนี้ในปี ค.ศ.1825 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาอย่างช้าๆ

เริ่มจากกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปตัวแรกของโลก คือ Daguerrotype ในปี ค.ศ. 1839 จำหน่ายในราคาประมาณ 50 ดอลล่าร์สหรัฐ กระทั่งปี 1900 หรือประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา โกดักก็เปิดตัวกล้องถ่ายภาพรุ่น Brownie สามารถโหลดฟิล์มได้ และมีช่องมองภาพเป็นอุปกรณ์เสริม ใส่ไว้ทางด้านบน ราคากล้องรุ่นนี้เพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็เป็นกล้องที่หายากมากในปัจจุบัน การถ่ายภาพระบบดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นเมื่อมีการคิดค้น CCD สำหรับใช้บันทึกในกล้องวิดีโอเมื่อปี ค.ศ. 1970 ถัดมาอีกเพียงปีเดียว ก็มีการส่งข้อความทางอีเมล์เป็นครั้งแรกของโลก โดย Ray Tomlinsn

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เข็มทิศมาจากไหน



เข็มทิศ (magnetic compass) คือเครื่องมือสำหรับใช้หาทิศทาง มีเข็มแม่เหล็กที่แกว่งไกวได้อิสระในแนวนอนทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ตามแรงดึงดูดของแม่เหล็กโลก และที่หน้าปัดมีส่วนแบ่งสำหรับหาทิศทางโดยรอบ เข็มทิศจึงมีปลายชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ (อักษร N หรือ น) เมื่อทราบทิศเหนือแล้วก็ย่อมหาทิศอื่นได้โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ด้านหลังเป็นทิศใต้ การบอกทิศทางในแผนที่โดยทั่วไป คือการบอกเป็นทิศที่สำคัญ 4 ทิศ คือทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก หรืออาจจะบอกละเอียดเป็น 8,16 หรือ 32 ทิศก็ได้

ประวัติศาสตร์ของโลกบันทึกไว้ว่า โคลัมบัสคือนักเดินเรือคนแรกที่แล่นเรือไปทั่วโลกจนได้ค้นพบทวีปอเมริกา แต่ใครจะคิดว่าก่อนหน้านั้น 70 ปี มีนักเดินเรือชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่นามว่า "เจิ้งเหอ" นำกองเรือขนาดใหญ่ที่เขาบัญชาการอ้อมไปครึ่งโลกมาแล้ว

เข็มทิศ การประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณค่าที่สุดและเก่าแก่ที่สุดสิ่งหนึ่งของจีน คือ เข็มแม่เหล็ก สมัยแรกคนจีนใช้เข็มแม่เหล็กไปติดไว้บนรถ สร้างรถชี้ทิศ เพื่อใช้ในการสงครามหรือใช้เป็นเครื่องมือหาทิศทางเวลาอยู่ในป่าลึกหรือภูเขา จากหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ชาวจีนรู้จักใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมเพื่อเดินเรือเมื่อศตวรรษที่ 12 นั่นคือในขณะนั้น จูยี่ เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง ได้เขียนบันทึกชื่อผิงโจวเข่อถาน บันทึกไว้ว่า ในคืนแรม ทหารเรือได้ใช้เข็มทิศหน้าปัดกลมจำแนกทิศทาง ต่อมา เจิ้งเหอ ได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ปีค.ศ. 1405 เดินทางไปถึงอาหรับและแอฟริกาตะวันออก ไปกลับเจ็ดครั้ง รวมเวลาได้ 28 ปี เราจะเห็นได้ว่าหากไม่มีเข็มทิศแล้ว การเดินทางในมหาสมุทรระยะไกลเช่นนี้ย่อมไม่สำเร็จแน่ ชาวอิตาเลียนใช้เข็มทิศในศตวรรษที่ 14 จีนจึงใช้เข็มทิศเร็วกว่าอิตาลีอย่างน้อยสองศตวรรษ และหากอ้างอิงถึง ทรรศะของนักประวัติศาสตร์ ชาวตะวันตกได้นำเข็มทิศหน้าปัดกลมไปจากจีนนั่นเอง

แม้ชาวจีนจะเป็นผู้คิดค้นเข็มทิศแม่เหล็กแต่ผู้พัฒนาการใช้ในทะเลก็คือชาวอาหรับ เขานำความรู้จากสองชาติมาเขียนแผนที่ทางทะเล ซึ่งบางชิ้นยังอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันและอาจทำให้การแล่นเรือเลียบชายฝั่งจากจีนไปแอฟริกาไม่ไกลเกินเอื้อม