วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กินกล้วยต้านโรค


 
           กล้วย มีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงได้หลายพันปี หลายปีมาแล้ว เชื่อกันว่ากล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนปลูก เพื่อเป็นอาหาร ประเทศไทยเราชื่อแน่ว่าปลูกกล้วยกินมานานมากแล้ว จดหมายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 กว่าปีมาแล้วก็กล่าวถึงเรื่องของกล้วย และยังมีผู้สำรวจและกล่าวว่ากล้วยหลาย 10 พันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่คนไทยกลับนิยมกินกล้วยกินน้อยมาก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นผลไม้ของคนยาก เนื่องจากราคาถูก จึงถูกจัดให้เป็นผลไม้เกรดต่ำ นำมาขึ้นโต๊ะรับแขกไม่ได้ แขกจะถูกแย่ว่าเลี้ยงกล้วย ต้องไปหาผลไม้แพงๆ ซึ่งความจริงผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยนี้ สุดยอดวิตามินเชียวล่ะ

กินกล้วย-ต้านโรค

           ฟังดูชื่อเรื่อง บางคนอาจจะคิดว่า เกินเลยความจริงไปมั้ง

           จริง ๆ แล้ว ไม่เกินเลยความจริงเลย กล้วยผลไม้ไทย ๆ ของเรานี่แหละใช้เป็นยาป้องกันและรักษาโรคได้หลายโรค และยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ คือมีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย ทางการแพทย์จึงได้เลือกให้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นอาหารเสริมในวัยทารก

           น้ำตาล ที่เกิดขึ้นจากขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะที่กล้วยสุกก็มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อกล้วยตกไปถึงลำไส้จะทำให้ลำไส้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมง่ายและสมบูรณ์ขึ้น จึงนับว่าน้ำตาลในกล้วยมีคุณค่ากว่าน้ำตาลที่ได้จากธัญพืชอื่น ๆ

           สารอาหารโปรตีน ที่มีอยู่ในกล้วยน้ำว้า เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเราอยู่หลายชนิด  โดยเฉพาะมีกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า อาร์จินิน และ ฮีสติดีน ซึ่งกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก

           นอกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ในกล้วยแต่ละชนิดยังมีไขมันแม้จะอยู่ในปริมาณที่น้อยก็ตาม

           กล้วย แต่ละชนิดจะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่แตกต่างกัน จะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจากตาราง โดยเปรียบเทียบจากเนื้อกล้วยในปริมาณ 100 กรัม เท่าๆ กัน

           ส่วน วิตามินนั้น มองดูผิวเผิน กล้วยแต่ละชนิดสีขาวๆ ทั้งนั้นไม่น่าจะให้วิตามินเอเลย แต่ในกล้วยก็มีวิตามินเออยู่ด้วย แม้จะไม่มากเท่าวิตามินเอที่ได้จากมะละกอหรือมะม่วงสุก แต่ก็มีวิตามินเอมากกว่าผลไม้อีกหลาย ๆ ชนิด เช่น ชมพู่ ส้มโอ น้อยหน่า เป็นต้น ในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น กล้วยน้ำว้าจะมีวิตามินเอมากกว่าเพื่อน สำหรับวิตามินตัวอื่น กล้วยก็มีอยู่ครบทุกชนิดเช่นกัน ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอะซิน

เกลือแร่สำคัญ ๆ ที่มีอยู่ในกล้วยก็คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก            เมื่อ เปรียบเทียบกับผลไม้อื่น ๆ แล้ว กล้วยนับเป็นผลไม้ที่มีเกลือแร่อยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือเหล็กก็ตาม กล้วยทุกชนิดมีแร่ธาตุมากกว่าผลไม้ชนิดต่าง ๆ ดังนี้

 

          มีธาตุเหล็กมากกว่าแตงโม พุทรา ระกำ ลำไย ลิ้นจี่ แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ

          มีแคลเซียมมากกว่าชมพู่ มะเฟือง มะไฟ มะยม มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ

          มีฟอสฟอรัสมากกว่าลูกเงาะ ชมพู่ แตงไทย แตงโม มะเฟือง มะม่วง มังคุด ระกำ ละมุด แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฯลฯ


วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผัดไทยมาจากไหน



ผัดไทย มีมาแต่โบราณในชื่อ "ก๋วยเตี๋ยวผัด" ผัดไทยนั้นกลายเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติตั้งแต่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง และได้เปลี่ยนชื่อก๋วยเตี๋ยวผัดเป็น "ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย" ตามชื่อใหม่ของประเทศ ปัจจุบันเรียกกันโดยย่อเหลือเพียงแค่ "ผัดไทย" ในต่างประเทศ อาทิในประเทศยุโรป และอเมริกา ผู้คนนิยมกินกันมาก และเป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความเป็นอาหารไทยได้เป็นอย่างดี เพราะชื่ออาหารที่เรียกง่ายและ บ่งบอกถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจนนั้น ทำให้ผัดไทยได้กลายเป็นอาหารสากลที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดีและนิยมรับประทาน ทุกครั้งที่ชาวต่างชาติเข้าไปร้านอาหารไทย ต้องมีการสั่ง "ผัดไทย" อย่างแน่นอน จึงทำให้ร้านอาหารไทยในต่างแดนขาย ผัดไทยต่อวันไม่ต่ำกว่า 1,000 จานเลยทีเดียว

หน้าตาของผัดไทยอาจจะเหมือนไปทางอาหารจีน เพราะใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวผัด แต่จริงๆ แล้ว ผัดไทยเป็นอาหารที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนไทยแท้ๆ มิหนำซ้ำยังเกิดในช่วง “รัฐนิยม” สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงครามเสียด้วย
      

ผัดไทย ประกอบด้วย เส้นเล็ก เต้าหู้เหลืองซอย กุ้งแห้ง ใบกระเทียม ไข่ลง ถั่วงอกดิบ สมัยนี้ยังมีผัดไทยกุ้งสด บางทีก็ผัดไทยห่อไข่ด้วย แถมบางเจ้ามีผัดไทยใส่หมูเสียด้วย แต่รู้ไหมว่าผัดไทยที่เป็นไทยแท้ๆ นั้น ต้องไม่ใส่หมูเด็ดขาด เหตุผลก็เพราะว่าคนในสมัย “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” เขามองว่าหมูเป็นอาหารของคนจีน คนไทยนานๆ ถึงจะกินหมูสักที ดังนั้น เนื้อหมูเลยหมดสิทธิ์มาอยู่ในจานอาหารไทยรัฐนิยม

ผลพวงของนโยบายชาตินิยมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้น ได้ก่อกำเนิดอาหารขึ้นมาชนิดหนึ่งและเหลือมาถึงปัจุบัน อาหารชนิดนั้นเกิดขึ้นเพราะจอมพล ป. พิบูลสงคราม เห็นว่าในสมัยนั้น "ก๋วยเตี๋ยว" เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมาก เพราะมีร้านก๋วยเตี๋ยวทั้งแบบตั้งอยู่กับที่และแบบเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นทางรถเข็น หรือทางเรือก็ตาม ซึ่งก๋วยเตี๋ยวนั้นจอมพล ป. เห็นว่าเป็นอาหารที่มีพื้นแพ มาจากประเทศจีน

ในช่วงนั้นรัฐบาลพยายามอย่างมาก ที่จะถอดถอนความเป็นจีนออกจากคนไทยเชื้อสายจีนทั้งหลายที่อยู่ในประเทศไทย ถึงกับมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการสอนหนังสือจีน ในเมืองไทย แต่สิ่งหนึ่งที่ยากแก่การปราบปรามก็คือ "ก๋วยตี๋ยว" นี่เอง ทำให้ก๋วยเตี๋ยวเป็นหนามตำใจของรัฐบาลในขณะนั้น

แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ได้คิดค้นอาหารขึ้นมาชนิดหนึ่งเพื่อจะส่งเสริมให้ประชาชนนำไปทำมาค้าขายแทนที่การขายก๋วยเตี๋ยว (จีน) โดยอาหารชนิดนี้พยายามสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองที่ตรงกันข้ามกับก๋วยเตี๋ยว (จีน) เราก็ได้ "เส้นจันท์" ขึ้นมา ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะแก่การผัดในกระทะ ก๋วยเตี๋ยว (จีน) มักจะกินเป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำ อาหารนี้กินแบบแห้งเท่านั้น (เพราะใช้ในการผัด) และสุดท้ายเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปรู้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งว่าอาหารนี้เป็น อาหารของคนไทยอย่างแน่นอน จึงตั้งชื่อว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย"

ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยจึงเป็นอาหารที่เกิดขึ้นมาภายใต้วัฒนธรรมแบบชาตินิยมที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามพยายามสร้างขึ้นโดยแท้ เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมการกินแบบชาตินิยม ก็เห็นจะไม่ผิดไปจากความจริง

สำหรับผู้ที่อยากกินก๋วยเตี๋ยวผัดไทให้เป็นแบบชาตินิยมแท้ๆ ก็ขอบอกว่าต้องเป็นผัดไทกุ้งสดเท่านั้น ที่ใส่หมูแทนกุ้งนั้นมันไม่ใช่สูตรนิยมจริงๆ เพราะหมูถูกมองว่าเป็นอาหารของคนจีน คนไทยนั้นนานๆ ทีจึงกินหมู กินเฉพาะเวลางานฉลองสำคัญจึงฆ่าหมูมากินกัน คนไทยแต่เดิมนั้นกินไก่ กินปลาเป็นหลัก เมื่อผัดไทยได้ชื่อว่าผัดไทย หมูจึงไม่มีสิทธิมาอยู่ในจานผัดไทย


วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหล้าหรือสุรามาจากไหน



สุรา (liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วน กลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเอง ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่นๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด คู่กับ "เมรัย" อันเป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์อย่างเดียวกัน แต่ผลิตจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า"

ประเทศต่างๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา

การบริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน หรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท"

หลักฐานบ่งบอกว่าสุรามีมาแต่สมัยกลาง (ระยะเวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงปลายศตวรรษที่ 14) โรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในซาเลอร์ อิตาลี นำเหล้าองุ่นมาต้มให้เดือดให้ไอผ่านท่อที่ทำให้เย็น ไอจะควบแน่นกลายเป็นหยดแอลกอฮอล์ใช้ผสมยา ตั้งชื่อหยดน้ำนั้นว่า "อควาไวเต้" (Aqua-vitae) หรือ "น้ำแห่งชีวิต" ด้านจีนและอินเดีย มีหลักฐานยืนยันว่าฮ่องเต้ทุกพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ เช่นกันกับพระจักรพรรดิแห่งอินเดียนับแต่ก่อนพุทธกาล

เหล้ากลั่นมีชื่อเรียกต่างๆ ออกไปตามวัตถุดิบ และกรรมวิธีการผลิต
1. ตากีลา-Tequila จากกระบองเพชร Agave แห่งเมือง Tequila เม็กซิโก
2. จิน-Gin จากข้าวผสม juniper ผลไม้ตระกูลเบอรี่
3. รัม-Rum จากน้ำอ้อยหมัก
4. วอดก้า-Vodka
5. วิสกี้-Whisky/Whiskey จากข้าวบาเล่ย์ ข้าวโพด ข้าวไรน์ กลั่นแล้วบ่มในถังไม้โอ๊ก มี Scotch Whisky จากสกอตแลนด์ Rye Whisky จากแคนาดา Irish Whiskey จากไอร์แลนด์ Bourbon Whiskey จากอเมริกา 6. บรั่นดี-Brandy หมักองุ่น กลั่นแล้วบ่ม
7. คอนญัก-Cognac ราชาแห่งบรั่นดี

มนุษย์ค้นพบน้ำเมาจากผลของการหมัก ย้อนไปได้ถึงสมัยบาบิโลนและอียิปต์ที่พบว่าถ้าเอาผลองุ่นมาบีบให้แตกแล้ว หมักกับข้าวที่ทำให้ชื้นจะได้น้ำที่มีฟองเล็กน้อย ดื่มแล้วรู้สึกครึ้มอกครึ้มใจ ส่วนในแง่วิทยาศาสตร์ หลุยส์ ปาสเตอร์ พบเชื้อราชนิดที่เรียกว่ายีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิต และใช้น้ำตาลที่ได้จากการย่อยแป้งเป็นอาหาร แล้วถ่ายเอาของเสียออกมา ซึ่งก็คือแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์





ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย และ atcloud.com

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิทยุมาจากไหน



เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน โดยทั่วไป คำว่า   มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว

พ.ศ. 2408 เจมส์ คลาก แมกซ์เวล (James Clerk Maxwell) ชาวอังกฤษค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุ

พ.ศ. 2430 เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Henrich Rudolf Hertz) ได้ค้นคว้าทดลองตามหลักการของ แมลซ์แวล ค้นพบคุณสมบัติต่างๆ ของคลื่นวิทยุ

พ.ศ. 2444 กูลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo marconi) ชาวอิตาลี สามารถส่งคลื่นวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ระยะทางกว่า 2,000 ไมล์ การส่งวิทยุระยะแรกเป็นการส่งวิทยุโทรเลข ยังไม่สามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงพูดได้ จนกระทั้ง

พ.ศ. 2449 จึงสามารถส่งสัญญาณเสียงพูดได้โดยการพัฒนาของศาตราจารย์ เรจินัลต์ เอ. เพสเสนเดน (Riginald A. Fessenden) และลีเดอฟอเรส (Lee de Forest) ชาวอเมริกันทำได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นการส่งเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับเครื่องหนึ่งในระยะไกลเรียกว่า วิทยุโทรศัพท์ (Radio Telephony) สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศครั้งแรกของโลกคือ สถานี KCBS ในซานฟรานซิโก สหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศรายการประจำให้คนทั่วไปรับฟังเมื่อ พ.ศ. 2453 (สุมน อยู่สิน และยงยุทธ รักษาศรี 2534 : 47-65)

เครื่องรับวิทยุเกิดขึ้นในราว พ.ศ. 2439 ในงานจัดแสดงของรัสเซีย โดย Alexander Stepanovich Popov

ในประเทศไทยยุคแรกประมาณปี พ.ศ. 2470 ได้ติดตั้งเครื่องส่งวิทยุระบบAM ขนาด200วัตต์ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โดยการควบคุมของช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข นับเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงออกอากาศ เครื่องรับวิทยุในยุคแรกนั้นเป็นชนิดแร่ มีเสียงเบามากและต้องใช้หูฟัง ต่อมาเปลี่ยนเป็นเครื่องรับชนิดหลอดสุญญากาศ มีความดังมากขึ้น เช่น เครื่องรับชนิด 4 หลอด ถึง 8 หลอด

ประมาณปี พ.ศ. 2500 เป็นยุคเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์ แต่ระยะแรกๆ ยังมีขนาดใหญ่มากและต่อมามีการพัฒนาอุปกรณ์และวงจรให้มีขนาดเล็กลงตามลำดับ จนสามารถนำไปในสถานที่ต่างๆได้ ทำให้กิจการวิทยุเป็นที่ยอมรับของประชาชนและมีสถานีส่งเกิดขึ้นมากมาย และมีการส่งทั้งระบบ AM และFM เช่นในปัจจุบัน