วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทำไมไฟจราจรต้อง แดง เหลือง เขียว

-->


 ทุกคนเคยขับ รถ หรือนั่ง รถ ผ่านสี่แยกไฟแดง ถ้ารถติดยาวหรือเป็นช่วงเวลารีบเร่งและเราได้ไปพร้อมๆ กับรถคันอื่นๆ ก็คงไม่รุ้สึกอะไร แต่ถ้าเราเป็นรถคันสุดท้ายที่ไม่ได้ผ่านไปพร้อมกับคนอื่นๆ และกลายเป็นรถคันแรกแต่เราต้องรออีก 120 หรือ 180 วินาที จะรู้สึกยังไงกันบ้าง ทุกคนมีคำตอบในใจ

หลายๆคนอาจสงสัยว่า เอ...ทำไม สัญญาณไฟจราจรต้องเป็นสี แดงเหลืองเขียว
เป็นสี ฟ้า ชมพู น้ำเงิน ไม่ได้หรือย่างไร  เดี๋ยววันนี้ คุณหนูเจ้าปัญหาจะมาไขข้องข้องใจให้ครับ
ก่อนอื่นเราต้องรู้เรื่อง สีก่อนครับ
 
สี คือการรับรู้ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง (หรือโน้ตดนตรี) คือการรับรู้ความถี่หรือความยาวคลื่นของเสียง

มนุษย์สามารถรับรู้สีได้ เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีต่างจากคนอื่น หรือไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง
บางครั้งเราเรียกแขนงของ วิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า
สำหรับที่ถามว่า ทำไมต้อง แดง เหลือง เขียว
 
ถ้าจะกล่าวต้องบอกได้ว่า มาตรฐานไฟจราจร สามสีนี้เป็นสากลที่ยอมรับกันทั่วโลก
เหตุผลหลัก มีได้ 2 ข้อใหญ่ๆ
1 เป็นหลักการทางจิตวิทยา
เนื่อง จากมนุษย์เรารู้จากสามัญสำนึกว่า
สีแดงหมายถึงอันตราย รู้สึกถึงความร้อน การไม่ปลอดภัย ดูอย่างไซเรนของหวอ ก็จะเป็นสีแดง หรือสัญญาณเตือนในหนังต่างๆ
สีเขียวปลอดภัย ชุ่มชื่น สบาย
2 เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์
เนื่องจากแสงสีแดงเป็นแสงที่มีความยาวคลื่น มากที่สุดทำให้เห็นได้ไกล จึงควรใช้เอาใว้ให้หยุด  ดังเช่นไฟเบรกเป็นต้น
 
ความ ยาวคลื่นของสีจะเรียงได้ตามสีของรุ้ง โดยสีรุ้งนั้นเรียงกัน คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
เรียงความยาวคลื่นจากน้อยไปมาก ดังนั้นสีที่มองเห็นแต่ไกลคือสีแดง ส่วนสีเขียว ก็คือคุ่ตรงข้ามแดง ไงละครับ
และสีอื่นๆที่ไม่นำมาใช้ ก็มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ประกอบเช่นกัน เช่นสีน้ำเงินหรือสีม่วง สีโทนทึบๆ
ไม่ ควรนำมาใช้ เพราะเวลามืดจะมองไม่ค่อยเห็นให้ทัศนวิสัยที่แย่กว่าสีอื่นๆ หรือเพราะความยาวคลื่นสั้นนั้นเอง

สังเกตุนะครับว่า สีที่ได้คัดเลือกให้เป็นมาตรฐานสากลนั้น จะไม่มีสีที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่นสั้นเลย....
นั้นคือกลุ่มสีทึบนั้น เอง

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

LPG มาจากไหน


                      การรณรงค์การประหยัดน้ำมัน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยทั้งประหยัดน้ำมันและเงินในกระเป๋าก็คือ    การที่รถยนต์ ส่วนใหญ่หันมาใช้แก๊ส ซึ่งแก๊สกับน้ำมันมีราคาต่างกันถึง 1 ใน 4 เท่า เพราะฉะนั้นจึงทำให้ รถยนต์ ส่วนใหญ่หันมาติดแก๊สกันมากขึ้น วันนี้ก็เลยจะแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้ที่มาขอแก๊ส LPG กันค่ะ
           LPG คืออะไร มันก็คือเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนใช้แค่ในครัวเรือน หรือภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น LPG ย่อมาจาก Liquid Petroleum Gas หรือ แก๊สหุงต้มที่เราๆ ใช้กันในบ้าน เป็นสารองค์ประกอบจำพวกไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง มีการผสมกันของแก๊สหลักอยู่ 2 ชนิด คือ โพรเพน ( Propane ) C3H8 และ บิวเทน ( Butane ) C4H10 ถ้าถูกเก็บอยู่ในสภาวะแรงดันคงที่ จะมีสถานะเป็นของเหลว แรงดันจัดเก็บจะอยู่ที่ 120 – 160 Psi มีการขยายตัวกลายเป็นไอที่สูง คุณสมบัติด้อยกว่าน้ำมันเบนซินราวๆ 20% มีค่าอ็อกเทนราวๆ  103 – 105 จึงจุดสันดาปยากกว่าน้ำมันเบนชิน แต่การนำไปใช้งานในเครื่องยนต์สามารถทำได้ง่ายและมีมลภาวะต่ำ แต่เนื่องจากตัวมันเองไม่มีกลิ่นจึงไม่สามารถรู้ได้ว่ารั่วซึมหรือไม่ จึงมีการผสมกลิ่นเข้าไปเป็นสารให้กลิ่นจำพวกซัลเฟอร์ หรือ แก๊สไข่เน่านั่นเอง
                     แหล่งที่มาของ LPG คือหนึ่งในพลังงานจาก ฟอสซิล เช่นเดียวกับน้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ และการจะได้มาซึ่ง LPG นั่นจะต้องอาศัยการกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า LPG นั้นเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันโดยอัตโนมัติ เพราะว่าบริษัทกลั่นน้ำมันส่วนใหญ่ก็จะมุ่งไปที่น้ำมันซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัทเหล่านั้น แต่การกลั่นน้ำมันก็ใช่ว่าจะเป็นหนทางเดียวกับการได้มาซึ่ง LPG เพราะว่า การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากพื้นดินนั้น ปกติจะได้มาซึ่งก๊าซมีเทน 90% แต่ที่เหลือจะเป็น LPG เช่นกัน ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งปกติบริษัทที่ขุด จะทำการแยก LPG ออกจาก มีเทนเสียก่อนที่จะส่งมีเทนไปใช้งานตามที่ต่างๆ


                      ไม่ว่าจะเป็นแก๊สธรรมชาติหรือน้ำมัน ทั้งสองอย่างก็เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป และในกระบวนการสร้างต้องใช้เวลานานเป็นล้านๆ ปี ดังนั้นจึงอยากรณรงค์ให้ทุกๆ ท่านเห็นคุณค่าของเชื้อเพลิงเหล่านี้ ถ้ามีโอกาสที่จะช่วยกันประหยัดได้ก็ช่วยกัน เราจะได้มีพลังงานไว้ใช้นานๆ