วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กำเนิด ALFE ROMEO



ในประเทศอิตาลีมีผู้ผลิต รถยนต์ รายสำคัญๆอยู่ 7 รายใหญ่ๆ อาทิเช่น อัลฟา โรเมโอ ,เฟอร์รารี ,เฟียต ,แลมโบกินี่ ,แลนสิอา ,มาเซราตี , เด โตมาโช   สัญลักษณ์บนกระจังหน้าของอัลฟา โรเมโอ ทุกคันเป็นตราที่เก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1910 โดนดังแปลงเพียงเล็กน้อยจากแบบเดิม  ที่มาของเจ้าตรานี้คือตราประจำตระกูล วิสคอนติ (VISCONTI) ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ของเมืองมิลาน อันเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถยนต์ของอัลฟา โรเมโอ  โดนที่รูปังกรกำลังกลืนเด็กสีแดงทางขวามอของตราสัญลักษณ์มีที่มาจาก ความเชื่อที่ว่า บรรพบุรุษของตระกูลนี้ได้สังหารมังกรในสมัยคริสต์ศตวรรษ ที่5 ส่วนกางเขนสีแดงด้านซ้ายมือของตราเป็นสัญลักษณ์การเข้าร่วมสงครามคูเสซของตระกูลวิสคอนติน  สำหรับบริษัท อัลฟา โรเมโอ นับเป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายเก่าแก่ของอิตาลี เพราะเริ่มผลิตรถยนต์มาตั้งแต่ปี 1910  ในช่วงแรกบริษัทใช้ชื่อว่า ALFA แต่ต่อมาได้มีการขายกิจการให้แก่นักอุสาหกรรมนามว่า นิโคลา โรเมโอ เพราะฉะนั้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทผลิตรถยนต์รายนี้ก็เปลี่ยนมาใช้ชื่อ อัลฟา โรเมโอ เป็นต้นมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารทำให้องกรณ์นี้มีการพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดดเนื่องจาก นิโคลา เป็นคนที่มีความใส่ใจในรายละเอียดยิบย่อย เพราะฉะนั้นหากะไรพลาดไปแม้มิลเดียวสิ่งนั้นเป็นอันยกเลิก หรือไม่ก็ถูกแก้ไขทันที


และนอกจากจะผลิตรถำหรับขับแล้ว อัลฟา ยังผลิตรถแข่งด้วย  นับเป็นการตัดสินใจที่ดีมากเพราะอัลฟาได้ประสบความสำเร็จในการผลิตรถแข่งอย่างมาก  เพราะงั้นชื่อของอัลฟา ยิ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก นับแต่นั้นมา อัลฟา โรเมโอ จึงเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการแข่งรถ

ในช่วงปี 1930 อัลฟา โรเมโอ เริ่มประสบปัญหาทางการเงินถึงกับต้องขายกิจการทั้งหมดให้กับรัฐบาลอิตาลีในปี 1993 อย่างไรก็ตามหลังจากดำรงฐานะเป็นผู้ผลิตรถยนต์ในการควบคุมของรัฐบาลอยู่ถึงห้าทศวรรษ ในปี1986 อัลฟา โรเมโอ ก็กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์เอกชนอีกครั้งหลังจากรัฐบาลอิตาลีตัดสินใจขายกิจการให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง เฟียต  บัจจุบันอัลฟา โรเมโอ เป็นรถยนต์ที่ผลิตภายใต้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เฟียต


วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Chat กันโลกแตก!!



ณ บัจจุบันคงแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักการแชท หรอ  chat  แน่ๆ  เพราะทุกวันนี้เราแทบจะกินอยู่กับมันแล้วหรือจะพิมพ์ให้ชัดๆก็คือมันกลายเป็นวัฒนธรรมของเราไปแล้วในเรื่องของการ ‘’แชท’’ หากจะหาข้อพิสูจณ์ละก็ แค่คุณลองเดินออกไปจากซอยบ้าน หรือเดินไปแถวๆที่ๆมีคนเยอะๆ  ผมรับประกันเลยว่า 2/3 ของคนที่คุณเห็นจะต้องกำลังกดโทรศัพท์แชทอยู่เป็นแน่  



วัฒนธรรมของการ แชท ผมว่ามันคงเกิดมาพร้อมๆกับ smart phone แน่ๆ เพราะว่าในตอนแรกการแชทยังคงถูกจำกัดอยู่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่พอมีเทคโนโลยี smart phone เข้ามา  ทำให้ขีดจำกัดของการแชทนั้นขยายขึ้นอย่างสูงสุด
ทำให้ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม  อยู่ตรงไหนของมุมโลกก็ตาม  เราก็สามารถที่จะติดต่อกันได้อย่างไร้ซึ่งขอบเขตแต่ก็ใช่ว่าเจ้าเทคโนโลยีนี้จะมีแต่ข้อดี  เพราะ เมื่อเราไม่มีขีดจำกัดของการเชื่อมต่อ การสื่อสารจึงเป็นไปได้อย่างหลากหลาย  ข้อเสียอย่างแรกเลยคือเทคโนโลยีนี้ทำให้คนเราพูดจากันน้อยลง  แต่แชทกันมากขึ้น  ทำให้ในเรื่องบางเรื่องเราอาจจะสื่อสารกันได้ไม่ชัดเจน  เมื่อการสื่อสารที่ไม่ชัดเจจนเกิดขึ้นทำให้การเข้าใจผิดเกิดขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ผมว่าในเรื่องบางเรื่องเราก็ใช้ปากพูดกันดีกว่าครับ 

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเรื่องบางเรื่องที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่สะดวกสบายก็ตาม  แต่หากเรามาสังเกตดีๆ สิ่งเหล่านั้นอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดไว้ทั้งหมดสักทีเดียว

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รถพลังงานแสงอาทิตย์!!

ถ้าหากวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องพลังงาน จากทรัพยากรธรรมชาติของเราเเล้วละก็เราคงนึกได้อย่างเดียวคือการใช้ โดยที่ไม่คิดจะทดเเทนเลย  เเละการใช้นั้นก็ไม่เเน่ว่าจะคุ้มค่าเสมอไปด้วยทั้งใช้ใน รถยนต์  การสร้างประเเสไฟฟ้าเเละอื่นๆอีกมากมาย เพราะงั้นวันนี้ผมเลยนำเอาการกระทำดีๆ เเละสร้างสรรค์สุดๆมาให้อ่านกันครับผม


หน้าร้อนนี้เรามากินหวานเย็นไอเดียเจ๋งๆ กันเถอะ ดีไซน์รถขายหวานเย็นพลังแสงอาทิตย์คันนี้ มาจากสาวน้อยนักดีไซน์ที่อยากสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อเปลี่ยนโลก เธอคือ Kelli Anderson นักคิดหัวใสที่หลงใหลในการทดลองประดิษฐ์และสร้างสิ่งใหม่อยู่เสมอ เธอเชื่อว่าทำไมเราต้องรอให้มีคนสร้างสิ่งแปลกใหม่ให้เกิดขึ้น เราเองก็ทำได้และแสดงออกทางความคิดได้
หนึ่งในงานดีไซน์ของเธอคือการออกแบบกราฟิกที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพลังงานผ่านรถหวานเย็น โดยเธอออกแบบลวดลายของรถร่วมกับ Jason Anello และ Sungevity ที่สร้างแผงโซลาร์เซลบนหลังคารถ ส่วนด้านข้างรถมีสีสันของข้อความบนแท่งไอติม ที่ให้เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยเกี่ยวกับประโยชน์ในการใช้พลังแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ถ่าน ไฟฟ้า และพลังงานนิวเคลียร์ ตัวอย่างข้อมูลที่สอดแทรกไว้ข้างรถเป็นหวานเย็นแท่งหนึ่งที่แสดงข้อมูลสั้นๆ เข้าใจง่าย เช่นว่า คุณรู้ไหมหากเราติดตั้งแผงโซลาร์เซลบนพื้นที่ 4% ของโลก เราสามารถผลิตพลังงานให้คนทั้งโลกใช้ได้เลยทีเดียว ลองคิดดูว่าหวานเย็นแท่งเล็กอันนี้หากใช้ไฟฟ้า ถ่าน หรือก๊าซธรรมชาติผลิตตามปกติ จะต้องใช้พลังงานเท่าไหร่ หากทุกคนร่วมกันเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เราจะประหยัดได้แค่ไหน เป็นต้น รถคันนี้นอกจากจะฝากข้อคิดเล็กๆ ที่กระตุ้นการใช้พลังงานทางเลือกแล้ว ยังมีจุดเด่นคือ แม้ไม่มีแสงอาทิตย์รถคันนี้ก็วิ่งได้ ผลิตหวานเย็นได้ โดยใช้พลังงงานจากแบตเตอรี่ที่ถูกชาร์ตเก็บไว้เมื่อตอนมีแสงนั่นเอง
บริษัท Sungevity ขับรถคันนี้แจกหวานเย็นฟรีไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ความตั้งใจของนักดีไซเนอร์คือต้องการดึงดูดให้คนเข้ามาใกล้ๆ มารับหวานเย็นกินฟรีๆ แถมเป็นหวานเย็นที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติล้วนๆ อีกด้วย นอกจากจะอร่อยชื่นใจแล้ว ยังได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เชิญชวนให้มาร่วมกันใช้พลังงานทางเลือกแถมไปด้วย ความคิดเก๋ๆ น่ารักแบบนี้สามารถดึงดูดคนรักหวานเย็นได้มากมายทีเดียว

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของโทรศัพท์ !!

ถ้าหากพูดถึงเหล่าเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในตอนนี้ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ รถยนต์ใหม่ๆ เเละอื่นๆอีกมากมายรอบตัวเรา    เราคงสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้มาจากไหนกันแน่  เเล้วใครเป็นคนริเริ่ม  งั้นวันนี้ผมขอหยิบยกเอาเรื่องของต้นกำเนิดของโทรศัพท์ให้ฟังกันครับ ส่วนเรื่องรถยนต์เเละอื่นๆไว้คราวหน้าละกันครับผม

โทรศัพท์ได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมาในปี   ..  2419    โดยนักประดิษฐ์ชื่อดังอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม     เบลล์ (Alexander  Graham  Bell) 






หลักการของโทรศัพท์ที่ อเล็กซานเดอร์ เกร์แฮม เบลล์  ประดิษฐ์ขึ้นก็คือจะมีปากพูด (Transmitter)  และหูฟัง  (Receiver)  ซึ่งมีโครงสร้างเหมือนลำโพงในปัจจุบัน   กล่าวคือมีแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ติดอยู่กับขดลวดซึ่งอยู่ ใกล้  ๆ แม่เหล็กถาวร  เมื่อมีเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม  ก็จะสั่นทำให้ขดลวดสั่นหรือเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก    เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมาในขดลวด  กระแสไฟฟ้านี้จะวิ่งตามสายไฟถึงหูฟัง ซึ่งหูฟังก็มีโครงสร้างเหมือนกับปากพูด เมื่อกระแสไฟฟ้ามาถึงก็จะเข้าไปในขดลวด  เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่มานี้  เป็นไฟเอซีมีการเปลี่ยนแปลงขั้วบวกและลบตลอดเวลา  ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ  ขดลวดของหูฟัง  สนามแม่เหล็กนี้จะไปผลักหรือดูดกับสนาม
แม่เหล็กถาวรของหูฟัง  แต่เนื่องจากแม่เหล็กถาวรที่หูฟังนั้น  ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้  ขดลวดและแผ่นไดอะแฟรม  จึงเป็นฝ่ายถูกผลักหรือดูดให้เคลื่อนที่  การที่ไดอะแฟรมเคลื่อนที่   จึงเป็นการตีอากาศตามจังหวะของกระแสไฟฟ้าที่ส่งมา  นั่นคือ  เกิดเป็นเสียงขึ้นมาในอากาศ  ทำให้ผู้รับได้ยิน
   
แต่อย่างไรก็ตาม  กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากปากพูดนี้มีขนาดเล็กมาก  ถ้าหากใช้สายส่ง ยาวมาก  จะไม่สามารถได้ยินผู้ส่งได้  วิธีการของ  อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์  จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก   แต่ก็เป็นเครื่องต้นแบบให้มีการพัฒนาต่อมา
ในปี  .. 2420  โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas  Alwa  Edison)  ได้ประดิษฐ์ปากพูดขึ้นมาใหม่ให้สามารถส่งได้ไกลขึ้นกว่าเดิมซึ่งปากพูดที่เอดิสัน  ประดิษฐ์ขึ้นมาคือ ปากพูดแบบคาร์บอน (Carbon Transmitter)   

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กำเนิดโตโยต้า



จุดเริ่มต้น
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2476 เมื่อบริษัทผลิตเครื่องทอผ้าโตโยดะ นำโดย คีชิโระ โตะโยะดะ ได้ทำการตั้งแผนกใหม่ในปี พ.ศ.2477 เพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเครื่องยนต์ Type A ซึ่งได้นำไปใช้ใน Model A1 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งคันแรกของบริษัท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2478 และรถบรรทุก G1 ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ซึ่ง Model A1 ได้พัฒนามาผลิตเพื่อการค้าเต็มรูปแบบซึ่งคือ Model AA ในปี พ.ศ.2479 


ข้อมูลบริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จาก ประเทศญี่ปุ่น มีฐานการผลิตที่เมืองโตโยต้า จังหวัดไอจิ ยี่ห้อรถยนต์ในเครือได้แก่ โตโยต้า, เล็กซัส(Lexus), ฮีโน่(Hino), ไดฮัตสุ(Daihatsu) โตโยต้ามอเตอร์เป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่น และเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งโตโยต้ามีความสามารถในการผลิตรถได้ประมาณ 8 ล้านคันต่อปี และเป็นบริษัทที่ให้กำเนิด ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System : TPS) และ วิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ที่โด่งดังไปทั่วโลก

TOYOTA WAY
คือการที่ผู้บริหารบริษัทเกรงว่าความเป็น TOYOTA ที่มีราก ฐานมาจากการคิดค้นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะหายไป จึงจัดทำคัมภีร์ในการทำงานขึ้นมา เพื่อสร้างพฤติกรรมนิยมในองค์กร ให้เป็นปรัชญาการทำงานของผู้บริหารและพนักงานทุกคน Toyota Production System (TPS) Toyota Production System (TPS) คือระบบการผลิตของ TOYOTA ที่ยึดหลักการผลิตโดย ไม่มีของเหลือ หลักการนี้มีจุดประสงค์คือผลิตเฉพาะสินค้าที่ขายได้เท่านั้น โดยจะผลิตรถยนต์คุณภาพดี และผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า