วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ดอกไม้ มาจากไหน

ดอกไม้ คือโครงสร้างการขยายพันธุ์ของพืชดอก (พืชในส่วน Magnoliophyta หรือเรียกว่า angiosperm) การทำงานเชิงชีววิทยาของดอกไม้มักจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยกลไกแบบสเปิร์มกับ ไข่ การปฏิสนธิของดอกไม้สามารถเกิดได้ข้ามดอก (การรวมตัวของสเปิร์มและไข่ที่มาจากดอกอื่นหรือต้นอื่นในกลุ่มประชากร) หรือเกิดในตัวเองก็ได้ (การรวมตัวของสเปิร์มและไข่ในดอกเดียวกันนั้น) ดอกไม้บางชนิดผลิตส่วนแพร่พันธุ์ (diaspore) โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกไม้จะมีอับสปอร์ (sporangia) เป็นแหล่งสร้างแกมีโทไฟต์ ดอกไม้คือส่วนที่เกิดเป็นผลไม้และเมล็ด ดอกไม้หลายชนิดวิวัฒนาการตัวเองเพื่อดึงดูดสัตว์เช่นแมลง เพื่อให้เป็นตัวช่วยส่งถ่ายละอองเรณู




นอกจากการเอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ของพืชดอก ดอกไม้ยังเป็นที่นิยมชมชอบและใช้เพื่อตกแต่งสภาพแวดล้อมในสังคมมนุษย์ และดอกไม้ก็เป็นตัวแทนแห่งความรักใคร่ ความเชื่อ ศาสนา สามารถใช้เป็นยารักษาโรคและแหล่งอาหารได้

ส่วนประกอบ
ดอกไม้มีส่วนประกอบหลักอยู่ 4 อย่าง

1.กลีบเลี้ยง

2.กลีบดอก

3.เกสรตัวผู้

4.เกสรตัวเมีย

ชนิดของดอกไม้
แบ่งตามเพศ
1. ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกไม้ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ บัว ถั่ว มะลิ เฟื่องฟ้า อัญชัน ข้าว ต้อยติ่ง แค ผักบุ้ง เป็นต้น
2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกไม้ที่แต่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มะยม ตำลึง แตงกวา เงาะ ฟักทอง มะพร้าว บวบ มะระ มะเดื่อ ข้าวโพด เป็นต้น

แบ่งตามส่วนประกอบ
1. ดอกสมบูรณ์ คือดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 อย่างใน 1 ดอก ได้แก่ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย กลีบเลี้ยง กลีบดอก เช่น มะลิ อัญชัน พริก แค ต้อยติ่ง การเวก ชงโค กุหลาบ เป็นต้น
2. ดอกไม่สมบูรณ์ คือดอกไม้ที่ไม่ได้มีส่ววนประกอบครบทั้ง 4 อย่างใน 1 ดอก อาจขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งไป เช่น ข้าว ข้าวโพด หญ้า แตงกวา มะระ มะละกอ จำปา จำปี บานเย็น มะยม มะพร้าว เป็นต้น

ข้อสังเกต
* ดอกสมบูรณ์ต้องเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ แต่ดอกสมบูรณ์เพศอาจไม่เป็นดอกสมบูรณ์
* ดอกไม่สมบูรณ์เพศต้องเป็นดอกไม่สมบูรณ์เสมอ แต่ดอกไม่สมบูรณ์อาจเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

กาแฟ มาจากไหน

กาแฟเป็น เครื่อง ดื่มที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่น้อยคนที่จะทราบถึงประวัติความเป็นมา ซึ่งก็ยังไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่ามนุษย์รู้จักกาแฟได้อย่างไร และตำนานความเป็นมาที่มีอยู่มากมายนั้น เรื่องไหนที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งพอจะแบ่งได้คร่าวๆดังนี้


ตามตำนานกล่าวว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรก ในศตวรรษที่ 12 แถบทวีปอัฟริกาตอนเหนือ โดยคัลดี (Kaldi) ชาว อบิซีเนีย คน เลี้ยงแพะ ปกติจะต้อนฝูงแพะออกไปหากินอาหารตามทุ่งหญ้าเนินเขาต่างๆ วันหนึ่งสังเกตเห็นความผิดปกติของฝูงแพะมีความคึกคักขึ้นหลังจากกินอาหาร บริเวณเนินเขาคัลดี(Kaldi) จึงตามฝูงแพะขึ้นไปพบว่าแพะเหล่านั้นกินผลไม้สุกสีแดง ทำให้พวกแพะคึกคักกระโดดโลดเต้นอย่างคึกคะนองคัลดีจึงลองทดสอบกินผลไม้นี้พบ ว่ามีความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมากัลดีจึงนำผลไม้นี้ไปอวดกับพระ นักบวชในหมู่บ้านพระนักบวชจึงไปสังเกตดูต้นไม้และนำผลไม้นี้กลับมาทดลองคั่ว และต้มชงดื่มทดลองพบว่าสามารถสร้างความกระปรี้กระเปร่าทำให้สวดมนต์ได้อย่าง ยาวนานในตอนกลางคืนโดยไม่มีอาการง่วงนอน ซึ่งเรื่องของคัลดี นี้ยังไปปรากฏในพระคัมภีร์เก่า(Old Testament) ซึ่งพระนักบวชนั้นก็คือโต๊ะอิหม่าม ซึ่งเชื่อว่าการสวดมนต์อ้อนวอนพระอัลเลาะห์เจ้าดีกว่านอนหลับ นั่นทำให้กาแฟกลายเป็นเครื่องด่มที่แพร่หลายในหมู่โต๊ะอิหม่ามเป็นเวลานาน กาแฟจึงได้ชื่อว่า คาห์วาห์ (Qahwah) หมายถึง การกระตุ้น ทำให้สดชื่น คำว่า คาห์วาห์ (Qahwah) แปลว่า ไวน์ แต่เครื่องดื่มไวน์เป็นของต้องห้ามในศาสนา ดังนั้นกาแฟจึงได้ชื่อว่า ไวน์แห่งอาหรับ (Wine of Araby)
อีก ตำนานหนึ่งเป็นเรื่องของ อาลี บิน โอมา (Ali Bin Omar) ที่ได้กระทำผิดประเพณีกับเจ้าหญิงและได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่บริเวณภูเขาใน ประเทศเยเมนที่นั่นโอมาได้ค้นพบต้นไม้ที่มีดอกสีขาว สามารถต้มเมล็ดแล้วดื่ม ได้อย่างมีความสุขเมื่อเขาเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ได้นำเมล็ดต้นไม้นี้ไปด้วยและที่เมกกะโอมาได้ช่วยรักษาโรคหิด โรคผิวหนังของนักแสวงบุญหลายคนด้วยเหตุนี้เมื่อเขาเดินทางกลับจึงได้รับการ ขนานนามให้เป็นเทวดาผู้ให้การอุปถัมถ์ต่อผู้ปลูกกาแฟเจ้าของร้านกาแฟ และผู้ดื่มกาแฟ

อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของกาแฟว่า มนุษย์คนแรกที่รู้จักและดื่มน้ำกาแฟ คือ มัฟทิ แห่งเอเดน ในสมัยศตวรรษที่ 9 บาง ตำนานก็กล่าวว่า ผู้ที่รู้จักรสชาติของกาแฟคนแรก คือ เดลี นักบวชชาวมุสลิม ผู้ที่มักจะง่วงนอนในขณะประกอบพิธีกรรม นักบวชผู้นี้จึงคิดหาวิธีขจัดความง่วง ด้วยการดื่มน้ำที่ต้มจากเมล็ดกาแฟ ต่อมาเครื่องดื่มนี้จึงแพร่หลายจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของ ชาวตะวันออกกลาง มาจากดินแดนอาหรับ เนื่องจากในอดีตชนชาติอาหรับเป็นชาติที่ผูกขาดการค้าเมล็ดกาแฟ เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม มาจากไหน

ถีนมิทธะ (อ่านว่า ถีนะมิดทะ; บาลี ถีนมิทฺธ) แปลว่า ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม (ถีนะ ความหดหู่ มิทธะ ความเคลิบเคลิ้ม) หมายถึง อาการที่จิตเกิดความห่อเหี่ยว ท้อแท้ หมดหวัง และเศร้าซึม ง่วงเหงา หาวนอน เป็นเหตุให้เกิดความหมดอาลัย ความเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรม จัดเป็น นิวรณ์ คือเครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงความดีและปิดกั้นความดีมิให้เข้าถึงจิต



ถีนมิทธะ เกิดจาก อรติ คือ ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน และความเมาอาหาร คืออิ่มเกินไป แก้ได้ด้วยอนุสติ คือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เป็นต้น

ถีนมิทธะ เป็นหนึ่งในนิวรณ์5 อันเป็นสิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ทำให้จิตเศร้าหมอง และทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ซึ่งมีห้าอย่าง คือ กามฉันทะ, พยาบาท, ถีนมิทธะ, อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา

เหตุให้ละความง่วงได้
โมคคัลลานสูตร (ในพระไตรปิฏก) บรรยายเหตุให้ละความง่วงได้ ไว้มีดังนี้

* เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก (ในพระไตรปิฎก อักษรโรมัน เพิ่มคำว่า มา ซึ่งแปลว่า อย่า ในประโยคหลัง)
* ถ้าเธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณา ถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ
* ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร
* ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว
* ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์
* ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา (ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด นึกถึงแสงสว่าง)
* ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก
* ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

ถีนเจตสิกและมิทธเจตสิก
ในพระอภิธรรมได้บรรยาย ถีนมิทธะ ในลักษณะของเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) โดยแบ่งเป็น ถีนเจตสิก และ มิทธเจตสิก
ถีนเจตสิก
ถีนเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ทำให้จิตหดหู่ ท้อถอยจากอารมณ์ ได้แก่สภาพที่ จิตคลายลงจากอำนาจ ความขะมักเขม้นต่ออารมณ์ มีลักษณะดังนี้

* มีการไม่อุตสาหะ เป็นลักษณะ
* มีการทำลายความเพียร เป็นกิจ
* มีความท้อถอย เป็นผล
* มีการกระทำใจต่ออารมณ์อย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) เป็นเหตุใกล้


มิทธเจตสิก
มิทธเจตสิก คือ ความโงกง่วง ได้แก่ สภาพที่ทำให้จิตเซื่องซึม ท้อถอยจากอารมณ์ มีลักษณะ

* มีความไม่ควรแก่การงาน เป็นลักษณะ
* มีการกั้น กำบังสัมปยุตตธรรม เป็นกิจ
* มีความท้อถอย หรือ การโงกง่วง เป็นผล
* มีการกระทำใจต่ออารมณ์อย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) เป็นเหตุใกล้


ถีนเจตสิก มีหน้าที่ ทำให้จิตที่เกิดพร้อมกับตน ท้อถอยจากอารมณ์ ส่วน มิทธเจตสิก มีหน้าที่ ทำให้เจตสิกที่เกิดพร้อมกับตน ท้อถอยจากอารมณ์
สำหรับ วิตก (วิตกเจตสิก) อันเป็นหนึ่งในองค์ฌาน เป็นปรปักษ์กับ ถีนมิทธะ (ถีนเจตสิก และ มิทธเจตสิก)
อาหารของถีนมิทธะ
ร่างกายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด ถีนมิทธะ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อาหารของถีนมิทธะในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยอันนำมาซึ่งผลคือ จิตเกิดความห่อเหี่ยว และเศร้าซึม ง่วงเหงา
สิ่งที่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ได้แก่ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ หรือ การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) ในสิ่งเหล่านี้ คือ

1. ความไม่ยินดี ในที่อันสงัด หรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล
2. ความเกียจคร้าน (อ้างว่า ร้อนนัก หนาวนัก หิวกระหายนัก เป็นต้น)
3. ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลส (บิดร่างกาย เอียงไปมา รู้สึกไม่สบาย ด้วยอำนาจกิเลส)
4. ความเมาอาหาร เช่น รับประทานมากไป อาหารย่อยยาก หรือร่างกายอ้วนเนื่องจากรับประทานมาก
5. ความที่ใจหดหู่ ความไม่ควรแก่การงานของจิตเนื่องจากใจหดหู่ ท้อแท้

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

อกหัก มาจากไหน

อกหัก คือวลีทั่วๆไปที่ใช้อธิบายความเจ็บปวดทางอารมณ์อย่างรุนแรง หรือความเจ็บปวดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการตาย, การหย่าร้าง, การโยกย้ายที่อยู่, ถูกปฏิเสธ ฯลฯ คำๆนี้เป็นคำที่มีใช้มาแต่โบราณและถูกใช้อย่างกว้างขวาง อย่างน้อยก็มีการกล่าวถึงในวรรณคดีเรื่องรามายณะของอินเดีย ซึ่งถูกแต่งในช่วง พ.ศ. 300 -743



โดยทั่วไปแล้ว อกหักมักจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียคู่สมรส หรือ คนที่รัก การสูญเสียผู้ให้กำเนิด, ลูก, สัตว์เลี้ยง หรือ เพื่อนสนิท ก็อาจเรียกได้ว่าอกหักเช่นกัน วลีนี้เกี่ยวข้องถึงความเจ็บปวดบริเวณหน้าอกจากการสูญเสีย และโดยทั่วไป วลีนี้ก็มักจะใช้ในสภาพอาการนี้ ซึ่งถูกเรียกว่า Broken Heart Syndrome (หรือ Takotsubo cardiomyopathy) อันมีสาเหตุมาจากการที่สมองหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อทำให้เนื้อเยื่อหัวใจอ่อนแอลง

มุมมองในเชิงปรัชญา
คนหลายๆคนไม่รู้ตัวถึงอาการอกหักในทันที แต่ใช้เวลาระยะหนึ่งในการรับรู้ถึงความเจ็บปวดทั้งทางอารมณ์และกายภาพอย่างสมบูรณ์ดั่งที่ Jeffrey Moussaieff Masson กล่าวเอาไว้ว่า:

มนุษย์หาได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่ตนมีตลอดเวลา เช่นเดียวกับเดรฉานที่ไม่สามารถแสดงความรู้สึกของมันออกมาเป็นคำพูดได้ นี่มิได้หมายความว่าพวกมันไม่มีความรู้สึก ซิกมุนด์ ฟรอยด์เคย กล่าวเอาไว้ว่า ผู้ชายอาจจะตกหลุมรักผู้หญิงสักคนหนึ่งได้ถึงเวลา 6 ปี โดยไม่รู้ตัวจนกระทั่งหลายอีกปีผ่านไป ด้วยความรู้สึกที่ดีต่อโลก เขาไม่สามารถบรรยายความรู้สึกที่เขาไม่รู้ออกมาเป็นคำพูดได้ เขามีความรู้สึกแต่เขาไม่รู้จักมัน อาจจะดูเหมือนเป็นการขัดแย้งในตัวเองเพราะเราคิดถึงสิ่งที่เรารู้สึก คิดถึงบางสิ่งที่เรารับรู้อย่างมีสติ ดั่งที่ฟรอยด์กล่าวเอาไว้ในบทความ The Unconscious (จิตไร้สำนึก) "เป็นที่แน่นอนที่สุดว่าแก่นแท้ของอารมณ์ที่เราควรจะตระหนักถึง แต่ก็อีกนั่นแหละ มันยิ่งกว่าคำถามที่ว่าเราสามารถ "มี" ความรู้สึกที่เราไม่รู้

ในมุมมองของพุทธศาสนา
ตามแนวคิดของพุทธศาสนานั้น การพลัดพรากจากบุคคลที่รักนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของโลก อันมีผลมาจากผลกรรมดังที่กล่าวเอาไว้ในพระไตรปิฎกดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

อาการ
อาการอกหักสามารถปรากฏได้โดยความเจ็บปวดทางจิต แต่ก็มีหลายๆผลกระทบที่ส่งผลเชิงกายภาพ ประสบการณ์อกหักนี้มักจะถูกคำนึงถึงในลักษณะที่อธิบายไม่ได้ รายการต่อไปนี้เป็นรายการของอาการโดยทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น
* ปวดแน่นหน้าอก ซึ่งคล้ายคลึงกับ Panic attack
* ปวดท้อง และ/หรือ ไม่อยากอาหาร
* นอนไม่หลับ
* โกรธ
* ตกใจ
* ระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต
* เซื่องซึม
* รู้สึกเหงา
* สูญเสียความหวัง และแรงขับเคลื่อน
* สูญเสียความเคารพและความเชื่อมั่นในตนเอง
* ความเจ็บป่วยทางการแพทย์และจิตวิทยา
* มีความต้องการฆ่าตัวตาย
* เคลื่อนไส้อาเจียน
* เหนื่อยล้า
* Thousand-yard stare
* ร้องไห้ถี่ๆ หรือต่อเนื่อง
* รู้สึกอ้างว้าง
* ร้ายแรงที่สุดคือ ตรอมใจตาย

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความโกรธ มาจากไหน

โทสะ แปลว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลสใหญ่ทั้ง 3 อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ




โทสะ เกิดจากมานะคือความถือตัวถือตน ความรู้สึกว่าตัวเด่นกว่าเขา ตัวด้อยกว่าเขา หรือตัวเสมอกับเขา เมื่อถูกกระทบเข้าก็เกิดความไม่พอใจ เกิดโทสะขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วหากระงับไม่ได้ก็จะนำให้ทำความชั่วความ ไม่ดีต่างๆ เช่น ทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้งกัน ทำร้ายกัน ฆ่ากัน เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน โลกก็เร่าร้อน ขาดสันติภาพ อยู่กันอย่างเดือดร้อน หวาดระแวงกันและกัน

โทสะ กำจัดได้โดย เมตตา คือการมีความรักปรารถนาดีต่อกัน

กลุ่มโทสะ
ธรรมฝ่ายชั่วนี้มี 3 อย่าง คือ

* โทสะ เป็นธรรมชาติที่ประทุษร้ายหรือความโกรธ
* อิสสา เป็นธรรมชาติที่ไม่พอใจในคุณสมบัติหรือคุณความดีของผู้อื่นหรือความอิจฉา
* มัจฉริยะ เป็นธรรมชาติที่หวงแหนในสมบัติและคุณความดีของตนหรือความตระหนี่
* กุกกุจจะ เป็นธรรมชาติที่รำคาญใจในความชั่วที่ได้ทำแล้วและรำคาญใจหรือร้อนใจทียังไม่ได้ทำความดี

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

เงาไม้ มาจากไหน

เพลงเงาไม้ เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ลูกทุ่ง" ของ บริษัท"ไทยฟิล์ม" ประพันธ์คำร้องโดยพระยาโกมารกุลมนตรี ทำนอง โดย หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2481 ขับร้องโดย นภา หวังในธรรม



ในปี พ.ศ. 2503 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลทรงสร้างภาพยนตร์เรื่อง เรือนแพ ก็นำเพลงเงาไม้ ที่ขับร้องโดยสวลี ผกาพันธ์ เป็นเพลงประกอบคู่กับ เพลงเรือนแพ ที่ชรินทร์ นันทนาคร ขับร้องไว้ด้วย

คำร้อง: พระยาโกมารกุลมนตรี
ทำนอง: หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์

แสงจันทร์วันนี้นวล คล้ายชวนให้น้องเที่ยว
จะให้เลี้ยวไปแห่งไหน
ชลใสดูในน้ำ เงาดำนั้นเงาใด
อ๋อ ไม้ริมฝั่งชล

สวยแจ่ม...แสงเดือน...
หมู่ปลาเกลื่อนดูเป็นทิว
หรรษ์รมย์...ลมริ้ว...
จอดเรืออาศัยเงาไม้ฝั่งชล