วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิทยุมาจากไหน



เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน โดยทั่วไป คำว่า   มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว

พ.ศ. 2408 เจมส์ คลาก แมกซ์เวล (James Clerk Maxwell) ชาวอังกฤษค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุ

พ.ศ. 2430 เฮนริช รูดอล์ฟ เฮิรตซ์ (Henrich Rudolf Hertz) ได้ค้นคว้าทดลองตามหลักการของ แมลซ์แวล ค้นพบคุณสมบัติต่างๆ ของคลื่นวิทยุ

พ.ศ. 2444 กูลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo marconi) ชาวอิตาลี สามารถส่งคลื่นวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ระยะทางกว่า 2,000 ไมล์ การส่งวิทยุระยะแรกเป็นการส่งวิทยุโทรเลข ยังไม่สามารถส่งสัญญาณที่เป็นเสียงพูดได้ จนกระทั้ง

พ.ศ. 2449 จึงสามารถส่งสัญญาณเสียงพูดได้โดยการพัฒนาของศาตราจารย์ เรจินัลต์ เอ. เพสเสนเดน (Riginald A. Fessenden) และลีเดอฟอเรส (Lee de Forest) ชาวอเมริกันทำได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นการส่งเสียงพูดจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับเครื่องหนึ่งในระยะไกลเรียกว่า วิทยุโทรศัพท์ (Radio Telephony) สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศครั้งแรกของโลกคือ สถานี KCBS ในซานฟรานซิโก สหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศรายการประจำให้คนทั่วไปรับฟังเมื่อ พ.ศ. 2453 (สุมน อยู่สิน และยงยุทธ รักษาศรี 2534 : 47-65)

เครื่องรับวิทยุเกิดขึ้นในราว พ.ศ. 2439 ในงานจัดแสดงของรัสเซีย โดย Alexander Stepanovich Popov

ในประเทศไทยยุคแรกประมาณปี พ.ศ. 2470 ได้ติดตั้งเครื่องส่งวิทยุระบบAM ขนาด200วัตต์ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โดยการควบคุมของช่างวิทยุกรมไปรษณีย์โทรเลข นับเป็นครั้งแรกที่มีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงออกอากาศ เครื่องรับวิทยุในยุคแรกนั้นเป็นชนิดแร่ มีเสียงเบามากและต้องใช้หูฟัง ต่อมาเปลี่ยนเป็นเครื่องรับชนิดหลอดสุญญากาศ มีความดังมากขึ้น เช่น เครื่องรับชนิด 4 หลอด ถึง 8 หลอด

ประมาณปี พ.ศ. 2500 เป็นยุคเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์ แต่ระยะแรกๆ ยังมีขนาดใหญ่มากและต่อมามีการพัฒนาอุปกรณ์และวงจรให้มีขนาดเล็กลงตามลำดับ จนสามารถนำไปในสถานที่ต่างๆได้ ทำให้กิจการวิทยุเป็นที่ยอมรับของประชาชนและมีสถานีส่งเกิดขึ้นมากมาย และมีการส่งทั้งระบบ AM และFM เช่นในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น