วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

เพชรมาจากไหน

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10

เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียกว่า "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก (อ่านแล้วนึกถึงเกมส์จับคู่เพรชรเลยนะคะ) การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้
การกำเนิด
เพชร เป็นสสารที่แข็งที่สุด โดยเกิดขึ้นจากการที่หินหนืดหรือแมกมา (Magma) ได้เปลี่ยนตัวเองจากธาตุคาร์บอนให้กลายเป็นผลึกคาร์บอนหรือเพชร แต่การที่ธาตุดังกล่าวจะกลายมาเป็นผนึกคาร์บอนหรือเพชรนั้นจะต้องใช้ระยะเวลาหลายพันปีภายใต้พื้นผิวโลกในระดับความลึกถึง 150-250 กิโลเมตร ความดันสูงถึง 70,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร อุณหภูมิ 1,700-2,500 องศาเซลเซียส ซึ่งอยู่ในระดับชั้นแมนเทิลส่วนบนของโลก (Upper Mantle) จากนั้นผนึกเพชรจะถูกฝังตัวในหินแม่เพริโดไทต์ (Peridotite) และเอโคลไจต์(Eclogite)แล้วแมกมาบางส่วนจะดันหินดังกล่าวเข้าไปในรอยแตกของหินเปลือกโลกด้านบน ผนึกเพชรที่ฝังตัวอยู่ในหินทั้ง 2 ชนิด จะเย็นตัวลงในหินภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) หรือชั้นหินสีน้ำเงิน (Blue Ground) แล้วถูกแมกมาอีกส่วนดันออกมาสู่พื้นผิวโลกโดยการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อผนึกเพชรถูกพ่นออกมากับแมกมา (Magma) จากปล่องภูเขาไฟจะเย็นตัวลงในหินภูเขาไฟ และจะถูกกัดกร่อนทีละน้อยด้วยความร้อน แรงลมและฝนเป็นเวลานานหลายศตวรรษ ซึ่งจะทำให้เพชรหลุดออกจากหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimberlite) แล้วถูกกระแสน้ำชะล้างทำความสะอาดและพัดพาไปตกตะกอนที่ก้นแม่น้ำและอาจถูกพัดพาไปเรื่อยจนถึงบริเวณชายหาดมหาสมุทร

การค้นพบ
เพชรถูกค้นพบเป็นครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ผู้ค้นพบเพชรพบว่าเพชรปะปนอยู่กันก้อนกรวดในก้นแม่น้ำสมัยโบราณ เชื่อกันว่า พวกทมิฬ (Dravidians) เป็นผู้ค้นพบเพชรในช่วงอารยธรรมแห่งหุบเขาอินดัส (Indus Valley Civilization) ระหว่างปี 2500 และ 1700 ก่อนคริสตกาล เพชรเหล่านี้มาจากภูเขาไฟระเบิด และถูกน้ำพัดพาไปรวมกันกับก้อนหิน หรวด ทรายก้นแม่น้ำ ทับถมกันเป็นเวลานับล้านๆ ปี

เหมืองเพชร
ชาวอินเดียได้ทำเหมืองเพชรเมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนั้นพวกเขาคิดว่าเพชรเจริญเติบโตในพื้นดินได้เหมือนเมล็ดพืช พวกเขาจึงชั้งน้ำหนัก และกำหนดค่าของเพชร โดยเปรียบกับเม็ดของต้นคารอบ (Carob Tree) ซึ่งเมล็ดนี้ถูกกำหนดให้เป็นมารตฐานในการวัด ต่อมาเมล็ดคารอบแปรเปลี่ยนมาเป็น "กะรัต" (Carat) ซึ่งยังคงเป็นหน่วยที่ใช้วัดน้ำหนักเพชรอยู่ในปัจจุบันนี้ (1 กะรัต เท่ากับ 1/142 ออนซ์ หรือ 0.2 กรัม)

ยุคนั้นอินเดียเป็นแหล่งผลิตเพชรแห่งเดียวของโลก จนกระทั่งช่วงต้นของศตวรรษที่ 18 แหล่งการค้าสำคัญๆ ของยุโรปล้วนติดต่อค้าขายกับอินเดีย ทั้งเวนิส บรุคส์ และลอนดอน อินเดียได้กลายเป็นศูนย์กลางการจำหน่ายและศูนย์กลางอุตสาหกรรมเพชร ในปี 1725 ได้พบแหล่งเพชรใหม่ที่บราซิล ทำให้ชนชั้นกลางที่ร่ำรวมมีโอกาสเป็นเจ้าของเพชรนอกเหนือจากราชวงศ์และขุนนางชั้นสูงที่มีสิทธิพิเศษในการครอบครองเพชร ในปี 1866 มีการค้นพบแหล่งเพชรได้อีกในแอฟริกาใต้ และเริ่มเกิดการตื่นเพชรขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดเมืองต่างๆ รอบเหมืองเพชรใหม่ มีการจับจองที่ดิน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเสมอกัน ในปีนี้เองถือเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของเพชร ซึ่งทำให้อัญมณีที่สวยงามนี้เป็นที่เอื้อมถึงของคนทั่วๆ ไป ต่อมาก็ได้มีกาารค้นพบแหล่งเพชรเพิ่มขึ้นอีกในดินแดนส่วนอื่นของแอฟริกา และในปี 1945 ได้พบแหล่งเพชรในรัสเซีย ใกล้ๆ ขั้วโลกเหนือแถบตะวันออกของไซบีเรีย ในปัจจุบันนี้มี 21 ประเทศที่มีเหมืองเพชร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา นอกจากนี้ยังมีพบที่จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ รัสเซีย และแคนาดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น