วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำมาจากไหน

น้ำมีสูตรเคมี H2O หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure : อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ

น้ำมีหลายรูปแบบ เช่น ไอน้ำและเมฆบนท้องฟ้า คลื่นและก้อนน้ำแข็งในทะเล ธารน้ำแข็งบนภูเขา น้ำบาดาลใต้ดิน ฯลฯ น้ำเปลี่ยนแปลงรูปแบบ สถานะ และสถานที่ของมันตลอดเวลา โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นไอ ตกลงสู่พื้นดิน ซึม ชะล้าง และไหล ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำบนผิวโลกเรียกว่าวัฏจักรของน้ำ

จาก วิกิพีเดีย


นักดาราศาสตร์บอกว่านิวเคลียสธาตุเล็กที่สุด 3 ธาตุ ไฮโดรเจน ฮีเลียมและลิเธียมเกิดหลังบิกแบง 200 วินาที แต่ธาตุหนักอย่างเช่นออกซิเจนเกิดจากการรวมธาตุเบาในดาวยุคแรก เราไม่สามารถมองไกลไปในอวกาศมากหรือมองย้อนอดีตได้ไกลจนเห็นดาวยุคแรก นักทฤษฎีเห็นด้วยกันว่า หลังอะตอมออกซิเจนเกิด มันรวมกับไฮโดรเจน 2 ตัว ไฮโดรเจนอยู่ทุกหนทุกแห่ง และเมื่อมีออกซิเจนสิ่งที่เสถียรมากที่สุดคือน้ำ แม้ไฮโดรเจนรวมกับออกซิเจนเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แต่มัน ไม่มีเสถียรภาพ

นักดาราศาสตร์ใช้ ดาวเทียมสวัสของนาซาที่ปล่อยเมื่อค.ศ. 1998 เพื่อให้เข้าใจว่าที่ไหนมีน้ำและมันเกิดเป็นน้ำได้อย่างไร และกระจายไปในเอกภพที่เห็นได้อย่างไร

ดาวเทียมสวัสได้รับการออกแบบเพื่อตรวจสอบจำนวนมากน้อยของตัวกลางระหว่างดาวด้วย การตรวจสอบก้อนกาซเย็น ที่หายากที่น้ำจะอยู่ในสภาพกาซแม้อุณหภูมิเย็น แต่น้ำที่มืดและไกลย่อมยากที่จะค้นหามันได้ โมเลกุลของน้ำเปิดเผยความมีอยู่ได้จากการคายโฟตอนในความยาวช่วงคลื่น สั้นกว่าช่วงมิลลิเมตร กล้องโทรทรรศน์ที่พื้นดินไมสามารถเห็นรังสีนี้ เพราะมันไม่ทะลุบรรยากาศโลกลงมา หลังจากปล่อยขึ้นสู่อวกาศ ยานสวัสค้นพบโฟตอนของน้ำในก้อนกาซที่ร้อนถึง 27 องศาเซลเซียส เมื่อเริ่มยุบตัวไปเป็นดาว น้ำส่วนใหญ่ที่เห็นมีในอัตราเหลือเชื่อในบริเวณเกิดดาวเช่นนี้

จาก http://sites.google.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น