วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

สบู่มาจากไหน

สบู่ก้อนแรกถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ๖ ศตวรรษก่อนคริสตกาลหรือประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว กล่าวกันว่าพวกฟีนีเชียนได้ต้มน้ำกับไขมันแพะและขี้เถ้าเข้าด้วยกัน แม้ฟังดูจะไม่ค่อยสะอาดนัก แต่สารโพแทสเซียมคาร์บอเนตในขี้เถ้านั้นช่วยให้สบู่ดึกดำบรรพ์ซึ่งมีผิวมันปลาบก้อนนี้มีคุณสมบัติใช้ทำความสะอาดได้

อย่างไรก็ตาม การผลิตและการใช้สบู่ก็ยังดำเนินไปอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ จนในสมัยหลังมีข้อยืนยันทางการแพทย์ว่า แบคทีเรียเป็นตัวการของโรคภัย เมื่อนั้นฝรั่งจึงยอมหันมาอาบน้ำและถูสบู่กันถ้วนหน้า แต่ตัวสบู่เองก็ไม่ได้มีการพัฒนาไปจากก้อนแรกเท่าไรเลย

ในปี ค.ศ. ๑๘๗๙ นายฮาร์เลย์ พร็อกเตอร์ เจ้าของโรงงานสบู่ และนายเจมส์ แกมเบิล ญาติซึ่งเป็นนักเคมี พบว่าสบู่กุรุสที่ถูกทิ้งให้ตีผสมอยู่ในเครื่องนานเกินไปเพราะคนงานลืมปิดเครื่องมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่าง คือมีน้ำหนักเบาจนสามารถลอยน้ำได้เพราะฟองอากาศในเนื้อสบู่ ปรากฏว่าสบู่ลอยน้ำได้ของนายพร็อกเตอร์ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยทีเดียว

นายพร็อกเตอร์ตั้งชื่อสบู่แหวกแนวของตนว่า ไอวอรี สบู่ยี่ห้อนี้มีรอยปรุตรงกลางก้อน หักแบ่งครึ่งได้ นายพร็อกเตอร์ตั้งสโลแกนสบู่ของตนว่า "มีเนื้อสบู่บริสุทธิ์ถึง ๙๙ ๔๔/๑๐๐ เปอร์เซ็นต์" ทั้งนี้เป็นความคิดที่ดัดแปลงมาจากรายงานว่า สบู่ไอวอรีมีสิ่งเจือปน อยู่ ๕๖/๑๐๐ ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ เมื่อกลับเอาลบมาเป็นบวก ผลที่ได้คือคอนเซ็ปต์โฆษณาในยุคต้นที่สุดจะคลาสสิก และยังช่วยให้นายพร็อกเตอร์ตั้งตัวเป็นมหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเครื่องอุปโภคขนาดยักษ์ เรียกว่าร่ำรวยขึ้นมาจากฟองสบู่ก็เห็นจะไม่ผิดนัก

คน แรก ที่ คิด ทำ นี้ ขึ้น ต้อง ย้อน กลับ ไป เมื่อ 799 ปี ที่ แล้ว ใน สมัย พระ เจ้า หลุยส์ ที่ 6 แห่ง ราชอาณาจักร ฟรังโก้ ซึ่ง สมัย นั้น เป็น ครั้ง แรก ของ โลก ที่ คิด ค้น สบู่ ขึ้น โดย สบู่ ก้อน แรก คิด ค้น โดย ชาว ผรั่ง เศส ชื่อ มาโก แวนโกะ ซึ่ง ใน สมัย นั้น สบู่ ยัง ไม่ เป็น ที่ นิยม เนื่อง จาก ทำมา จาก ไขมันของปลาโลมา ทำ ให้ มี ความ คาว และเหม็น มาก
สบู่ก้อนแรกจะขุ่นเรียกว่าสบู่ก้อนขุ่น (Opaque Soap) เป็นประเภทที่เรารู้จักกันดีเพราะใช้มานานก่อนกำเนิดของสบู่ชนิดอื่นๆสบู่จากธรรมชาติ

นอกจากก้อนไขมันแล้ว ยังมีวัสดุธรรมชาติอย่างอื่นอีกที่คนสมัยก่อนนิยมเอามาใช้เป็นสบู่ โดยเฉพาะพืช และมีเรื่องประหลาดว่า ที่เกาะไซโมลัส ในทะเลอีเจียน มีก้อนบางอย่างหน้าตาเหมือนสบู่เกิดขึ้นเองทั่วไปทั้งเกาะ ซ้ำเมื่อเอามาถูตัวและซักผ้าก็สะอาดไม่แพ้กันด้วย โดยเฉพาะเวลาฝนตกหนักเจ้าก้อนนี้จะมีฟองออกมาจนทั้งเกาะปกคลุมไปด้วยฟองหนาหลายฟุตเลยทีเดียว

ซึ่งการค้นพบสบู่เนี่ยะถือว่าเป็นความบังเอิญมาก ๆ ในยุคสมัยที่เรายังนิยมการบูชายันต์อยู่นั้น มักจะมีแท่นบูชายันต์ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ เมื่อนำแพะ หรือสัตว์อื่น ๆ มาบูชายัน ก็มีการเผาทำพิธีบริเวณนั้นด้วย และไขมันจากสัตว์เกิดไหลปนกับขี้เถ้า เกิดเป็นสิ่งที่เป็นก้อนขาว ๆๆ ไหลลงในลำธาร ชาวบ้านที่นำผ้ามาซักบริเวณนั้น ก็เกิดข้อสังเกตุว่า ผ้าที่ซักจากบริเวณนี้ สะอาดง่ายกว่า ซักบริเวณอื่น จึงได้หาเหตุ กันต่าง ๆ จนมาเจอก้อนที่ว่านี่เอง สบู่ไงครับ ที่เกิดจากความบังเอิญจาก ไขมัน รวม กับ ขี้เถ้า

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า ปฎิกิริยา Saponification หรือการเกิดสบู่ขึ้นนั่นเอง
เป็นผลที่มาจาก ESter(ไขมัน) และ base(ด่าง) รวมกัน ได้เป็นสบู่ขึ้นมา โดยที่สบู่จากการสร้างจาก Saponification จะมีส่วนที่เรียกว่า กลีเซอรีน ออกมาด้วย ดังนั้นสบู่จากปฎิกิริยานี้ จะช่วยบำรุงผิวได้ดี

อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของสบู่จะแปรตามคุณสมบัติของไขมันที่มาทำสบู่
เช่นถ้าสบู่ที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว จะมีเนื้อแข็ง ฟองมาก เหมาะไว้ล้างจานเป็นต้น สบู่น้ำมันละหุ่ง จะให้ครีมนุ่มอ่อนโยน เหมาะไว้ล้างหน้าเป็นต้นครับ

ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้ผลิตสบู่แบบนี้ซึ่งผมจะเรียกว่าการผลิตสบู่ด้วยวิธีธรรมชาติ โดยใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว์ผสมกับด่างหรือ NaOH มาใช้กันเป็นเวลายาวนานซึ่งถือว่าเป็นสบู่ที่ดี ไม่ค่อยมีความระคายเคือง และมีกลีเซอรีนผสมอยู่ และมีการปรับสูตรกันในแต่ละท้องถิ่น ในไทยเอง ก็มีการผลิตสบู่ลักษณะนี้อยู่เหมือนกันในอดีต

จวบจนครั้งเมื่ออุตสาหกรรมเคมี ได้พัฒนาขึ้น การผลิตสบู่แบบดั้งเดิม ซึ่งต้นทุนสูง ใช้เวลานานในการผลิต และ ผลิตได้ครั้งละจำกัด จึงเกิดสบู่อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผลิตโดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการชะล้าง มาอัดเป็นก้อนและผสมกลิ่นน้ำหอม และ เติมสี และจัดจำหน่ายทั่วไป มีการเติมมอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อทดแทนกลีเซอรีน ที่เคยได้ในการผลิตแบบดั้งเดิม สบู่ประเภทนี้ให้การชะล้างที่เยี่ยมยอด และมีกลิ่นสี น่าใช้มาก เพราะแต่งเติมเข้าไปด้วยกรรมวิธีใหม่ ๆ


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>ขอบคุณข้อมูลจาก bloggang และ fwdder

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

รถยนต์มาจากไหน


ก่อนช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ยานพาหนะของผู้คนในสมัยนั้น ยังคงอาศัยแรงของสัตว์ เช่น รถม้า หลังจากมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้มีการประยุกต์ใช้แรงดันไอน้ำมาขับเคลื่อนเป็นยานพาหนะแบบใหม่ที่ไม่ต้องอาศัยแรงของสัตว์
ในปี ค.ศ. 1886 คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เพลิงเผาไหม้คันแรกของโลกได้สำเร็จ (Benz Patent Motorwagen) โดยใช้โครงสร้างแบบลูกสูบเหมือนของเครื่องจักรไอน้ำ เพียงแต่ได้เพิ่มอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงในรูปของเหลวให้กลายเป็นก๊าซ และเพิ่มวาล์วไอดีไอเสีย ในรูปแบบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ (ปัจจุบันรถยนต์ใช้ระบบเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน)
เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงในยุคแรกๆ นั้น ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ต่อมา ปี 1897 รูดอล์ฟ ดีเซล พยายามคิดค้นพลังงานอื่นมาใช้กับเครื่องยนต์ จนสำเร็จเป็นเครื่องยนต์ดีเซล


============================================================ จาก วิกิพีเดีย


ประวัติยานยนต์ไทย
ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ที่แล้ว รถยนต์คันแรกเข้ามาวิ่งในแผ่นดินสยามถือเป็นสิ่งแปลกใหม่บนท้องถนน คนยุคนั่นคงนึกไม่ถึงว่ามันจะเป็นพาหนะสำคัญ จนเป็นปัจจัยที่ 5 ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนตร์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย

การกำเนิดรถยนต์ในประเทศไทยและการที่พระราชวงศ์ไทยสนพระทัยในเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่อุบัติขึ้นแทบ จะเป็นเวลาเดียวกันกับช่วงเปลี่ยนศตวรรษเมื่อเริ่มมีการผลิตรถยนต์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ รถยนต์คันแรกขึ้นบกที่ท่าเรืออู่บางกอก และมีการขับไปตามท้องถนนท่ามกลางสายตาของประชาชนที่เฝ้ามองอย่างพิศวง รถยนต์สมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นรถยี่ห้อใด คันเกียร์และคันห้ามล้อ ติดตั้งอยู่นอกตัวถ้งด้านขวามือของผู้ขับ รถยนต์อันเป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 20 เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อใดยังเป็นข้อถกเถียงไม่สิ้นสุด แต่เชื่อกันว่าเป็นชาวต่างชาติเป็นผู้สั่งเข้ามาเป็นคนแรก รถคันนี้มีลักษณะคล้ายกับรถบดถนนในปัจจุบัน มีล้อเป็นยางตัน หลังคาคล้ายปะรำ ที่นั่ง 2 แถว ใช้น้ำมันปิโตเลียมเป็นเชื้อเพลิงและรถมีกำลังเพียงวิ่งตามพื้นราบ ไต่ขึ้นเนินสะพานไม่ได้ การใช้งานของรถคันแรกจึงมีขีดจำกัดเพราะท้องถนนเมืองบางกอกเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองสูง เพื่อให้เรือลอดผ่านได้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญของรถยนต์ยุคนั้น

รถยนต์คันแรกสามารถปลุกเร้าความสนใจของคนไทยและคนต่างชาติได้เป็นอย่างดี ต่อมาไม่นานเจ้าของรถคันดังกล่าวก็ขายต่อให้จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ถือเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นเจ้าของรถยนต์ ท่านจอมพลฯ ซื้อรถยนต์มาทั้งที่ขับไม่เป็นจึงต้องให้ท่านพระยาอนุทูตวาที (เข็ม แสงชูโต) น้องชายเป็นผู้ขับแทน เชื่อกันว่าพระยาอนุทูตวาทีเป็นคนไทยคนแรกที่ขับรถยนต์ได้ เนื่องจากเคยทำงานที่ประเทศอังกฤษจึงมีโอกาสได้ขับรถยนต์ ต่อมาก็สอนคนอื่นเรียนรู้การขับรถยนต์อย่างแพร่หลาย หลังการซื้อรถมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้มีโอกาสขับโลดแล่นไปตามท้องถนนเมืองบางกอกอยู่หลายปีก่อนที่รถคันแรกจะเสื่อมสูญไปตามกาล ยุคนั้นผู้ที่สั่งรถเข้ามาจะเป็นพระราชวงศ์เป็นส่วนใหญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 2411 พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก และพระราชวงศ์หลายพระองค์ก็มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติยานยนต์ของไทย ปี 2447 มีรถยนต์ 3 คันเข้ามาวิ่งในถนนบางกอก แต่ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเป็นรถยนต์ยี่ห้ออะไรและใครเป็นเจ้าของ


============================================== ขอบคุณข้อมูลจาก ด๊อกเตอร์คาร์.เน๊ต