วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กระเพาะปลามาจากไหน






กระเพาะปลา เป็นอาหารจานโปรดของใครๆหลายคน ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไปหรือดาราก็ชอบทานกัน     แต่รู้หรือไม่ว่า อาหารจานโปรดนั้น ที่มาของกระเพาะปลามาจากไหน ว่าแล้วก็ไปรู้ความเป็นมาของเจ้ากระเพาะปลากันเลยจ้า


เวลาที่เกิดหิวขึ้นมาตอนดึกๆ แต่ไม่อยากกินอะไรให้หนักท้องมากนัก "108 เคล็ดกิน" มักนึกถึงกระเพาะปลาร้อนๆ สักถ้วยกินให้อุ่นๆท้อง กินไปก็สงสัยไปว่าทำไมจึงเรียกว่า "กระเพาะปลา" ทั้ง ที่จริงๆแล้วมันคือถุงลมที่ช่วยในการดำน้ำของปลาต่างหาก ซึ่งกระเพาะปลาที่เรานำมากินกันนั้นก็มาจากปลาหลายชนิด ทั้งปลากุเลา ปลากะพง ปลาอินทรี ปลาไหลทะเล ฯลฯ ซึ่งราคาก็จะถูกแพงต่างกันไป ยิ่งเป็นปลาทะเลน้ำลึกก็จะยิ่งแพงมากขึ้น

      ชาวจีนรู้จักกินกระเพาะปลามานานกว่า 1,600 ปีแล้ว และยังใช้กระเพาะปลาเป็นเครื่องบรรณาการที่หัวเมืองแถบชายฝั่งทะเลจะต้องจัด ถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินจีนมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรถัง นอก จากนั้นตำรายาจีนยังถือว่ากระเพาะปลาเป็นยาชูกำลัง มีสรรพคุณในการเสริมหยิน บำรุงเซลล์และเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรงและกระชับ เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้พลังงาน แก้อาการตกเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เลือดลมไหลเวียนดี ทำให้มีพละกำลัง

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำบนดาวเสาร์มาจากไหน




กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชลขององค์การอวกาศยุโรปดาราหรือ ESA  ได้ตรวจพบว่าดวงจันทร์     เอนเซลาดัสของดาวเสาร์พ่นน้ำออกมาสู่วงแหวนของดาว เสาร์

การค้นพบนี้ได้ตอบคำถามที่ยืนยาวนานถึง 14 ปีว่าน้ำบนดาวเสาร์มาจากไหน หลัง จากที่มีการค้นพบ ว่าบรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีน้ำเป็นส่วนประกอบ

ดวงจันทร์เอนเซลาดัสนับเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีอิทธิพลทางเคมีต่อดาวเคราะห์แม่
ดวงจันทร์เอนเซลาดัสพ่นไอน้ำจำนวนประมาณ 250 กิโลกรัมทุกวินาทีออกมาทางขั้ว ใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรอยแตกขนาดใหญ่บนพื้นผิวที่นักดาราศาสตร์เรียกกัน ว่า ”ลายพาดกลอน” ของเอนเซลาดัส      ซึ่งเรียกตามลักษณะที่เป็นเส้นหลายเส้นขนาน กัน

ไอน้ำที่พ่นออกมาได้ก่อรูปเป็นเมฆไอน้ำขนาดมหึมารูปโดนัทล้อมรอบดาวเสาร์ โด นัทนี้กว้างใหญ่กว่ารัศมีของดาวเสาร์ถึงกว่า 10 เท่า แต่มีความหนาประมาณ รัศมีของดาวเสาร์เท่านั้น เอนเซลาดัสโคจรรอบดาวเสาร์โดยอยู่ห่างจากดาวเสาร์ ประมาณเท่ากับ 4 เท่าของรัศมีดาวเสาร์เอง พร้อมกับพ่นน้ำเป็นพวยออกมาเติม ให้แก่ก้อนเมฆนี้ตลอดเวลา

แม้เมฆรูปโดนัทนี้จะมีขนาดใหญ่โตมหึมา แต่ไม่มีใครเคยตรวจพบก้อนเมฆนี้มา ก่อนเลย เนื่องจาก  ไอน้ำโปร่งใสในย่านแสงที่ตามองเห็น แต่มองเห็นได้ในย่าน รังสีอินฟราเรดที่กล้องเฮอร์เชลรับรู้ได้
นักดาราศาสตร์พบน้ำในบรรยากาศของดาวเสาร์เป็นครั้งแรกในปี 2540 โดยกล้องไอเอสโอขององค์การอีซา ในครั้งนั้นได้ทำให้นักดาราศาสตร์ต่างงุนงงว่าน้ำนั้นมาจากไหน จนกระทั่งเฮอร์เชลค้นพบเบาะแสคำตอบในครั้งนี้ จากการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เผยว่าน้ำประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ที่พ่นออกมาจากเอนเซลาดัสจะตกลงสู่ดาวเสาร์ แม้จะเป็นส่วนน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นปริมาณที่มากพอจะอธิบายถึงแหล่งที่มาของน้ำที่พบบนดาวเสาร์ ได้ ไอน้ำที่ส่วนที่เหลือบางส่วนจะลอยออกไปในอวกาศ บางส่วนจะคงอยู่ในวงแหวน และบางส่วนก็ตกลงไปบนดวงจันทร์ดวงอื่นด้วย

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รุ้งกินน้ำมาจากไหน



 
ม่วง ฟ้า คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
จ็ดสีที่ทุกคนคงเคยเห็นบนท้องฟ้าหลังวันที่ฝนตก แต่รู้หรือไม่ว่ารุ้งกินน้ำมาจากไหนและเกิดขึ้นได้อย่างไร?

รุ้งกินน้ำ เกิด จากการหักเหของแสงผ่านหยดน้ำที่ล่องลอยในอากาศ  เมื่อเรามองด้วยตาเปล่าจะเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาวแต่ในความเป็นจริงนั้นแสง อาทิตย์ประกอบด้วยแสงสีต่างๆ 7 สีอันได้แก่ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสดและสีแดง เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับผิวของหยดน้ำฝนก็จะเกิดการหักเหของแสงแยกออกเป็น สีสันต่างๆ แสงแต่ละสีจะหักเหไปด้วยมุมต่างๆ  กันขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นโดยที่แสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดแต่จะหัก เหด้วยมุมน้อยที่สุดขณะที่แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุดจะหักเหมากที่ สุด รุ้งกินน้ำที่เกิดจากการสะท้อนของแสงแดดจากหยดน้ำในก้อนเมฆที่ลอยอยู่ในท้องฟ้า โดยที่แสงสีแดงจะอยู่บนสุดสีม่วงจะอยู่ล่างสุด


ทำไมรุ้งถึงเป็นเส้นโค้ง?รุ้งกินน้ำที่ เกิดขึ้นทำใมถึงมีลักษณะโค้งก็เนื่องมาจากหยดน้ำที่ทำ ให้เกิดรุ้งกินน้ำนั้นมีลักษณะกลม และผู้สังเกตจะพบว่า เวลาเรามองดูรุ้งกินน้ำขณะที่เราอยู่บนพื้นดิน เราจะเห็นเพียงครึ่งวงกลมเท่านั้น เนื่องจากรัศมีในการมองเห็นของแสงที่สะท้อน  แต่ถ้าหากผู้สังเกตอยู่บนที่สูงเช่นยอดเขา   หรือหากให้ดีบนเครื่องบินผู้สังเกตจะพบเห็นรุ้งกินน้ำเป็นวงกลมเลยทีเดียว


รุ้งกินน้ำเกิดเฉพาะหลังฝนตกจริงหรือ ? ไม่จำเป็นเสมอไปว่ารุ้งกินน้ำจะต้องเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณฝน ที่ตกเท่านั้น หากยังเกิดขึ้นได้ในบริเวณน้ำตก โดยที่น้ำตกนั้นมีละอองน้ำล่องลอยในอากาศและผู้สังเกตอยู่บริเวณด้านล่างจาก ละอองน้ำที่ล่องลอย และแสงแดงทะลุผ่านก็ทำให้เกิดเห็นรุ้งกินน้ำได้อีกเช่นกัน   นอกจากนั้นรุ้งอย่างเดียวกันนี้ยังอาจเห็นได้จากฟองไอน้ำของน้ำตก จากฟองไอน้ำที่เราพ่นออกมาจากปาก  ในด้านตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์   และในแท่งแก้วรูปสามเหลี่ยมเมื่อวางรับแสงแดด 

 

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยาหม่องมาจากไหน




ชื่อของ Hawpar Group ในประเทศไทย อาจไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนักแต่หากเอ่ยถึงยาหม่องตราเสือ และน้ำมันกวางลุ้ง สินค้าทั้ง 2 กลับเป็นที่รู้จักกันมากกว่า

ทั้งยาหม่องตราเสือ และน้ำมันกวางลุ้ง เป็นสินค้าซึ่งคิดค้น และผลิตโดย Hawpar โดยเฉพาะยาหม่องตราเสือนั้นเป็นสินค้าชิ้นแรกที่ Hawpar คิดค้นขึ้นมาได้ตั้งแต่เมื่อเกือบ 100 ปีก่อนและมีผลให้ Hawpar สามารถขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างขวาง และยิ่งใหญ่ในปัจจุบันรวมถึงทำให้คนไทย เรียกขานยาที่สามารถรักษาได้สารพัดอาการ ซึ่งทำมาจากน้ำมันเข้มข้น เมื่อนำมาถูนวดแล้วมีความร้อน ว่า "ยาหม่อง"

Hawpar Group ถือกำเนิดขึ้นจาก Aw Boon Haw (Tiger) และ Aw Boon Par (Leopard) 2 พี่น้องลูกชายของ Aw Chu Kin แพทย์แผนโบราณ (ซินแส) ชาวเมืองเอหมึง มลฑลฮกเกี้ยนที่อพยพไปหากินโดยเปิดร้านรับรักษาคนไข้อยู่ในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1800

ทั้งคู่เกิดในพม่า โดย Aw Boon Haw เกิดในปี 1882 และ Aw Boon Par เกิดในปี 1888
ในวัยเด็กทั้งคู่ถูกส่งเข้าศึกษาในโรงเรียนของคนอังกฤษที่อยู่ในพม่า


เมื่อปี 1908 Aw Chu Kin บิดาของทั้งคู่เสียชีวิต 2 พี่น้อง Boon Haw และ Boon Par จึงได้เริ่มต้นธุรกิจของตัวเองโดยการผสมผสานวิทยาการสมัยใหม่จากทางตะวันตก กับวิชาความรู้ทางแพทย์แผนโบราณที่ได้รับสืบทอดต่อจากบิดาโดยการผลิตยาหม่อง ตราเสือซึ่งมีความหมายตามชื่อของทั้งคู่ออกมาจำหน่าย

กิจการของทั้งคู่ประสบความสำเร็จ ยาหม่องตราเสือได้รับความนิยมไม่เฉพาะแต่ในพม่าแต่ยังถูกส่งออกมาขายใน ประเทศใกล้เคียง ทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทยในปี 1920 ทั้งคู่ซึ่งเพิ่งมีอายุได้ไม่ถึง 40 ปี ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนจีนที่ร่ำรวยที่สุดคู่หนึ่งในกรุงย่างกุ้ง

ในปี 1926 ทั้งคู่ได้ขยายมาเปิดโรงงานในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการขยายกิจการออกนอกประเทศพม่าเป็นครั้งแรกจนกระทั่งเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 โรงงานของทั้ง 2 พี่น้อง ทั้งที่อยู่ในพม่าและสิงคโปร์ต้องปิดลงชั่วคราว และอพยพไปลี้ภัยอยู่ในฮ่องกง

Boon Par ได้เสียชีวิตลงก่อนสงครามโลกสิ้นสุดเพียง 1 ปี เมื่อสงครามสงบ Boon Haw ผู้พี่ได้กลับมาเปิดโรงงานที่สิงคโปร์ใหม่ และเริ่มต้นขยายธุรกิจออกไปได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกเหนือจากธุรกิจเพื่อสุขภาพแล้ว ยังมีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกิจการธนาคารที่ชื่อว่า Chung Khiaw Bank

ปี 1954 Boon Haw เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวาย ทิ้งกิจการซึ่งได้ขยายกลายเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ไว้ให้กับคนรุ่นลูกเป็นผู้ดูแลแต่ในเจเนอเรชั่นที่ 2 ไม่สามารถรักษาความเป็นเจ้าของไว้ได้ หลังจาก Hawpar Group ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์ในปี 1969 กิจการของ Hawpar Group ก็มีการเปลี่ยนมือเจ้าของอยู่หลายครั้ง

ครั้งหนึ่งบริษัทแจ๊กเจีย อุตสาหกรรมของไทย ได้เคยเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 16% และเคยนำยาหม่องตราเสือเข้ามาผลิตในประเทศไทย แต่ภายหลังหุ้นดังกล่าวก็ถูกเปลี่ยนมือโดย United Overseas Bank (UOB) ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 30% ในปี 1981 และยังคงความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่จนถึงปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 43%


และนี่คือที่มาของคำว่า "ยาหม่อง"

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หมากฝรั่งมาจากไหน




หมากฝรั่ง เกิดจากนายพลอันโตนิโอ โลเปช เอ็กซ์ ซานตา อันนา แห่งกองทัพเม็กซิโก ซึ่งเดินทางมาอยู่ในอเมริกา และนำยางต้นไม้จากป่าในเม็กซิโกชื่อว่า ยางชิคลิ (chicli) มาด้วย ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่พวกอาซเท็ก

ต่อมาเมื่อเดือนก.พ. ปี 2414 โทมัส อดัมส์ นักถ่ายภาพและนักประดิษฐ์ เห็นว่าหมากฝรั่งที่นายพลซานตาเคี้ยวน่าจะเป็นที่นิยม จึงวางแผนเปิดตลาดหมากฝรั่ง จนประสบความสำเร็จ โดยหมากฝรั่งยุคแรก ทำเป็นเม็ดกลมเล็กๆ ไม่มีรสชาติ วางขายในร้านขายยาแห่งหนึ่งในเมืองโฮโบเค็น รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ขายราคาเม็ดละ 1 เพนนี และดัดแปลงทำเป็นรูปแผ่นสี่เหลี่ยมแบนๆ

ต่อ มาปี 2418 จอห์น คอลแกน เภสัชกร เติมรสชาติในหมากฝรั่งโดยใช้ตัวยาทางการแพทย์ คือขี้ผึ้งหอมทูโล ซึ่งทำจากยางไม้ต้นทูโลในอเมริกาใต้ มีรสชาติหวานคล้ายกับยาแก้ไอน้ำเชื่อมของเด็กในยุคร้อยกว่าปีก่อน พร้อมทั้งตั้งชื่อหมากฝรั่งชนิดนี้ว่า "แทฟฟี่-ทูโล" ทำให้หมากฝรั่งกลายเป็นที่นิยมขึ้นมาอีกครั้ง จากนั้น นายโทมัส อดัมส์ เจ้าเก่าก็ผลิตหมากฝรั่งรสชะเอม หรือที่เรียกว่า "แบล็กแจ๊ก" เป็นหมากฝรั่งเติมรสที่เก่าแก่ที่สุดที่มีขายอยู่ในท้องตลาดของอเมริกา

หลัง จากนั้นปี 2423 นายวิลเลียม เจ.ไวต์ ผสมน้ำเชื่อมข้าวโพด และเติมรสด้วยเปเปอร์มินต์ ทำให้หมากฝรั่งซึ่งถูกตั้งชื่อว่า "รสเปเปอร์มินต์" และเป็นที่นิยมอย่างมาก

สำหรับหมากฝรั่งที่เป่า เป็นลูกโป่ง สองพี่น้อง แฟรงก์ และ เฮนรี ฟลีเออร์ เป็นผู้คิดค้นขึ้นแต่ในช่วงแรกยังมีคุณภาพไม่ดีนัก เป่าแล้วแตก ติดหน้าเหนอะหนะ จนในปี 2471 วอลเตอร์ เดมเมอร์ นำมาพัฒนาต่อและสามารถเป่าได้โตกว่าเดิม 2 เท่า และตั้งชื่อให้หมากฝรั่งแบบใหม่ว่า "ดับเบิ้ล บับเบิ้ล" ซึ่งไม่ได้ทำมาจากยางไม้อย่างหมากฝรั่งของนายพลซานตา แต่เป็นยางสังเคราะห์นุ่มซึ่งไม่มีรสและกลิ่น คนอเมริกันนิยมเคี้ยวเจ้ายางสังเคราะห์นี้มาก

ปัจจุบัน หมากฝรั่งมีหลากหลายรสชาติ เช่น รสมินต์ ทำให้ลมหายใจสดชื่น รสเลมอน ทำให้รู้สึกตื่นตัว หรือรสเปเปอร์มินต์ ที่ให้ความรู้สึกเย็น และยังมี "ลูกเล่น" ที่น่าตื่นตาตื่นใจ อย่างเช่น บับเบิ้ลกัมพ์ (หมากฝรั่งที่ยืดหยุ่นได้ มีลักษณะเป่าแล้วเกิดฟอง) ลูกอมและหมากฝรั่งผสมที่มีลักษณะคล้ายอมยิ้ม

จากเดิมที่ใช้หมาก ฝรั่งช่วยระงับกลิ่นปากและทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น ในปัจจุบัน มีพัฒนาให้สามารถปกป้องเหงือกและฟัน เช่น หมากฝรั่งแบบไม่มีน้ำตาลโดยมีสารให้ความหวานเทียมจาก
ไซลิทอลหรือน้ำตาล แอลกอฮอล์ธรรมชาติชนิดหนึ่ง

นอกจากนี้ยังมี หมากฝรั่งสำหรับลดการติดบุหรี่ ซึ่งช่วยให้ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่าความอร่อยอย่างเดียว

ปล.เมื่อเคี้ยวกันเสร็จแล้ว ควรที่จะทิ้งให้ถูกที่ถูกทางด้วยนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชื่อทั้ง 12 เดือนมาจากไหน





 หลายๆคนคงสงสัย?? ว่าเดือนแต่ละเดือนใครเป็นคนตั้งและที่มาของชื่อเดือนต่างๆ นั้นคืออะไร 
วันนี้ เกมส์ จะพาเพื่อนๆไปไขข้อข้องใจกันค่ะ ><"

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน ทั้งนี้ แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม"  ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็นชื่อราศี คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง"

คำว่า "ปฏิทิน" ที่เราใช้ในปัจจุบัน สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษาสันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้ การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ" เมืองไทยประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แม้เราจะใช้ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย

 ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ 5 จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2432 เรียกว่า "เทวะประติทิน" ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้

มกราคม คือ มกร (มังกร) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร

กุมภาพันธ์ คือ กุมภ์ (หม้อ) + อาพนธ แปลว่า การมาถึงของราศีกุมภ์

มีนาคม คือ มีน (ปลา) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน

เมษายน คือ เมษ (แกะ) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ

พฤษภาคม คือ พฤษภ (วัว,โค) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ

มิถุนายน คือ มิถุน (ชายหญิงคู่) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีมิถุน

กรกฎาคม คือ กรกฎ (ปู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ

สิงหาคม คือ สิงห (สิงห์) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห์

กันยายน คือ กันย (สาวพรหมจารี) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย์

ตุลาคม คือ ตุล (ตาชั่ง ตราชู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล

พฤศจิกายน คือ พิจิก, พฤศจิก (แมงป่อง) + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก

ธันวาคม คือ ธนู (ธนู) + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู



วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สีป้ายทะเบียนรถยนต์..มาจากไหน






รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้วทุกคันนั้น จะต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนให้ครบถ้วน ถูกต้อง และในที่ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน สีของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่หลากหลายและแตกต่างกันนั้น มีดังนี้
  1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนดพื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลือง สะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น สีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด สีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์ สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อ สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง

  2. รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรม รถยนต์บริการทัศนาจร เช่นรถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว

  3. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ พวกรถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น สีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์ สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน สีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล สีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

    หมายเหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)

  4. รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ

  5. รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต พวกรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่นรถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44 - 9999 พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง) ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ

  6. รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้น ลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่ รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง) ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาว ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ พ.ศ. ๒๕๔๗.

ป้ายทะเบียนรถยนต์ (License plate)

หมายถึง ป้ายแสดงรหัสประจำตัวรถยนต์ที่ติดอยู่บนรถยนต์ทุกคัน ป้ายทะเบียนรถยนต์มี 2 บรรทัด บรรทัดแรกประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัว และตัวเลขตั้งแต่ 1-4 หลัก ส่วนบรรทัดที่สองเป็นตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด