วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชาดำเย็นมาจากไหน









          การดื่มชาใส่น้ำแข็งเริ่มขึ้นในงานมหกรรมโลกซึ่งมีการละเล่นมากมายไม่ว่าจะเป็น เต้นรำ, เล่นเกมแต่งตัว , การละเล่นพื้นบ้าน ที่เซนต์หลุยส์ ปี ค.ศ. 1904 โดยหนุ่มอังกฤษ ชื่อริชาร์ด เบลชินเดรน (Richard Blechyndren) ช่วงนั้นอากาศร้อนมากเขาขายน้ำชาร้อนๆไม่ออก จึงรินน้ำชาราดลงไปบนก้อนน้ำแข็ง

          ชาติแรกที่ เติมนมในชา คนฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เติมนมสดในน้ำชา
ชาถุง (tea bag) กล่าวกันว่าชาใส่ถุงจะให้ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค ผู้ค้นพบวิธีเอาชาใส่ถุงคือคนจีน โดยบรรจุลงถุงผ้าไหมส่งไปลอนดอนแต่เอกสารหนึ่งกล่าวว่า โทมัส ซุลละแวน (Thomas Sullivan) เป็นผู้คิดค้นถุงใส่ชาที่แสนอำนวยความสะดวกและเหมาะสมกับรสนิยมคนรุ่นใหม่
ชาบรรจุกระป๋อง เพื่อเอาใจผู้บริโภคที่เดินทางไกล หรือคนที่งานยุ่งไม่สนใจการกินอยู่ โรงงานอุตสาหกรรมได้เอาน้ำชาใส่กระป๋องเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2483 ประเทศไทยพัฒนาเป็นครั้งแรกคือ  ชากระป๋องลิปตัน เมื่อ พ.ศ. 2531 ด้วยการเติมกลิ่นมะนาวลงไป เมื่อดื่มตอนเย็นจัดมีรสชาติกลมกล่อมยิ่ง

          เมี่ยง เป็นผลิตภัณฑ์ชาที่ผ่านการนึ่งและหมักอย่างหนึ่งของคนไทยภาคเหนือ คนลาวและคนพม่า อาจกินเมี่ยงแบบเปรี้ยวๆ หรือโรยเกลือใส่เล็กน้อยก็จะเสริมรสชาติ เมี่ยงมีบทบาทในชีวิตจนเกิดคำพังเพยว่า "เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม" ปัจจุบันเมี่ยงถูกลดบทบาท เพราะคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อยลง
         กากเมล็ดชา มีสารซาโปนีน (Saponin) ใช้สระผมและล้างสิ่งสกปรกออกจากเรือนผม ทำให้เส้นผมเป็นมัน ส่วนกากใบชาที่ชงแล้วนำมาพอกแผลน้ำร้อนลวกได้ น้ำมันจากเมล็ดชาทำเนยเทียมได้

          กำเนิดปั้นชา ยุคแรกๆ ชาวจีนดื่มชา จะใช้หม้อต้มและเทลงดื่มในชาม ต่อมาประมาณต้นศตวรรษที่ 16 มีการค้นพบปั้นชาขึ้นใกล้เมืองอี๋ชิงมณฑลเจียงซูโดยเด็กรับใช้คุณชายตระกูลอู๋ที่กำลังจะเดินทางไปสอบจอหงวน ได้แวะพักที่วัดจิน ซา ที่วัดนี้มีเตาเผาเพราะพระจะปั้นภาชนะดินใช้เอง วันหนึ่งหลังการเตรียมชงน้ำชาให้คุณชายท่องหนังสือเรียบร้อยแล้ว เด็กรับใช้ชื่อ กงชุน ได้หลบมาพักผ่อนและเห็นพระปั้นภาชนะดินอยู่ จึงเข้าร่วมวง ปั้นไปปั้นมา ปั้นเอาภาชนะทรงกลมมีฝาปิดด้านบนเติมหูจับ ต่อพวยกาออกมา กลายเป็นอุปกรณ์ชงชาและกรองใบชาใบแรกของโลก และยังเป็นต้นแบบของภาชนะชงชาชุดเครื่องเงินของราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น