วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กล่องดนตรีมาจากไหน









  • กล่องดนตรีมีต้นกำเนิดมาจากระฆังในโบสถ์ที่ใช้ตีเพื่อบอกเวลา คล้ายๆ กับระฆังวัดบ้านเรา แต่ระฆังโบสท์แต่ละใบจะมีเสียงสูงต่ำแตกต่างกัน เวลาตีแล้วจะได้ยินเป็นเสียงเพลง เพลงหนึ่งที่ดังมากๆ และยังถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้ก็คือเพลงเวสมินเตอร์ ชาร์ม (Westminster Chimes) นั่นเอง
  • ปี ค.ศ. 1796 นาย อองตวน ฟาเวร่ (Antoine Favre) ชาวเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์นำเทคนิคสร้างเสียงเพลงจากระฆังนี้มาดัดแปลง โดยใช้แท่งโลหะและลูกตุ้มไปติดแทนแล้วเชื่อมโยงด้วยหมุดเหล็ก พัฒนาให้เป็นนาฬิกาเสียงดนตรี
  • ปี ค.ศ. 1802 นายอองตวน ฟาเวร่ ได้นำผลงานประดิษฐ์ดังกล่าวมาย่อส่วนใส่ลงในกล่องยานัตถุ์ เป็นกล่องยานัตถุ์เพลง (Music snuff box) ซึ่งถือเป็นต้นแบบของกล่องดนตรีในเวลาต่อมา
  • ปีค.ศ.1815 ทั้งกรุงเจนีวา(Geneva)และเมืองสเต-ครัวซ์ (Santa Croix)กลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตกล่องดนตรี โดยนายเดวิด เลอคูลเทรถือเป็นนายช่างคนแรกที่นำโลหะทรงกระบอกมาใช้ตรึงหมุด (Pinned Cylinder)ในกล่องเพลงเป็นคนแรกทั้งเป็นคนเพิ่มซี่เหล็กทำเสียงดนตรีออกเป็น 5 ซี่ เพื่อเพิ่มเสียงตัวโน้ตมากขึ้น
  • ขณะเดียวกันพี่น้องตระกูลนิโคลก่อตั้งโรงงานผลิตกลอ่งดนตรีชื่อ นิโคล-เฟรเรส์ พัฒนาเทคนิคทำกล่องเพลง เช่นใช้ไม้ผลมาทำเป็นตัวกล่องให้สวยงาม และใช้ตัวควบคุมการทำงานของดนตรี 3 ตัว (ตัวเปลี่ยนเสียงเพลง ตัวเริ่มและหยุดเสียง และตัวหยุดเสียงทันที)นอกจากนี้ยังประดิษฐ์ตัวไขลานติดไว้ที่ด้านซ้ายของกล่อง (บริษัทนี้มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน)
  • ในช่วงปี ค.ศ. 1850-1870 ถือเป็นช่วงที่มีการประดิษฐ์กล่องดนตรีที่ประณีตที่สุดทั้งในด้านเสียงเพลงและตัวกล่อง จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1880 อุตสาหกรรมการผลิตกระบอกโลหะ (Cylinder) เฟื่องฟูมาก เมื่อกล่องเพลงเป็นที่นิยมแพร่หลาย คนธรรมดาเดินดินก็ซื้อได้(ก่อนหน้านี้เฉพาะเศรษฐีหรือผู้มีอันจะกินเท่านั้นที่จะมีโอกาสเป็นเจ้าของเครื่องดนตรีชนิดนี้)
  • แต่การผลิตกล่องเพลงมาชะงักราวปี ค.ศ. 1910 เมื่อประชาชนหันไปนิยมเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เอดิสัน (Thomas A. Edison) ประดิษฐ์ขึ้น ในปี ค.ศ. 1877
  • เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจของทางยุโรปก็ซบเซาลงจนถึงขั้นขาดแคลน อุตสาหกรรมและธุรกิจกล่องดนตรีก็ค่อยๆ เลือนหายไป
  • ในปัจจุบันกล่องดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดยังคงเป็นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่บริษัทเยอรมันเองก็ไม่น้อยหน้าสามารถครองส่วนแบ่งของตลาดได้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น