วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บรรพบุรุษของช้าง มาจากไหน

นักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียพบหลักฐานในตัวช้างว่า ช้างมีบรรพบุรุษเป็นวัวทะเล (SEA COW) หรือนางเงือก



วัวทะเล หรือ ตัวพะยูน หรือ นางเงือก เป็นสัตว์น้ำที่กำลังจะสูญพันธุ์ เพราะมีความเชื่องกับมนุษย์ และเคลื่อนไหวได้เชื่องช้าใน ถิ่นที่อยู่ธรรมชาติคือในน้ำ

การค้นพบใหม่ของคณะนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ประกอบด้วย แอนน์ เกท (ANN GAETH) โรเจอร์ ชอร์ต (ROGER SHORT) และ มาริลัน เรนฟรี (MARILYN RENFREE) เกิดขึ้นจากการศึกษาอวัยวะ คือ ไตของตัวอ่อนช้างแอฟริกา และพบส่วนประกอบบางอย่างภายในไต ซึ่งมีอยู่เฉพาะในตัวของสัตว์น้ำมีกระดูกสันหลัง แต่ไม่พบมาก่อนใน ตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

เมื่อปี ค.ศ. 1865 นักชีววิทยาเยอรมัน ชื่อ เอิร์นต์ แฮกเคล (ERNST HAECKEL) ได้เสนอทฤษฎีว่า ตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม รวมทั้งตัวอ่อนมนุษย์ด้วย มีพัฒนาการตั้งแต่การผสมกันระหว่างไข่กับสเปิร์ม จนกระทั่งเติบโตเป็นทารกเต็มตัวพร้อมจะ คลอดจากท้องผู้เป็นแม่ ที่แสดงลักษณะเฉพาะอันเป็นผลจากวิวัฒนาการอันยาวนาน...กล่าวคือตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมี ลักษณะรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงตามรอยวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษในอดีตมาก่อน ดังนั้นตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงเริ่มร้นจากการมีรูปร่างคล้ายปลา จากนั้นจึงเปลี่ยนรูปร่างมาคล้ายสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ต่อมาอีกจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นคล้ายสัตว์ เลื้อยคลานและในที่สุด จึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นลักษณะสุดท้ายของชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

มาถึงปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์ถือว่า ทฤษฎีของเอิร์นต์ แฮกเคลไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ผิดไปเสียทั้งหมด เพราะพัฒนาการของตัว อ่อนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยทั่วไปก็ผ่านระยะที่มีอวัยวะบ่งบอกถึงบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมว่าเคยใช้ชีวิตในน้ำมาก่อน หลักฐานคือร่องเหงือกที่มีอยู่กับตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับช้างกับวัวทะเล วงการชีววิทยาเชื้อกันมานานแล้วว่า มีบรรพบุรุษร่วมกัน ถึงแม้ลักษณะทางกายภาพจะแตกต่างกันอย่าง ชัดเจน ในปัจจุบันหลักฐานที่สนับสนุนมีอยู่มากทีเดียว ทั้งหลักฐานประเภทฟอสซิล และหลักฐานทางด้านพันธุกรรมคือยีนที่สะสมมาก ขึ้นในระยะไม่กี่ปีมานี้

ปัญหาที่วงการชีววิทยายังค้างคากันอยู่มากคือ บรรพบุรุษร่วมของช้างกับวัวทะเลเป็นสัตว์น้ำ ดังเช่น วัวทะเลใช่หรือไม่ ? และ เส้นทางวิวัฒนาการของช้าง จะเป็นแบบที่กลับไปกลับมาระหว่างน้ำกับบนบกใช่หรือไม่? กล่าวคือ ช้างเริ่มต้นชีวิตบรรพบุรุษเป็นสัตว์ น้ำแล้วก็ขึ้นสู่แผ่นดิน (โดยที่บรรพบุรุษเปลี่ยนจากสัตว์จำพวกปลาเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก) จากนั้นก็หวนกลับคืนสู่น้ำอีก แล้วในที่สุด จึงขึ้นมาใช้ชีวิตเป็นสัตว์บกเต็มตัว ดังเช่นช้างในปัจจุบัน

สิ่งที่คณะวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นค้นพบ สนันสนุนเส้นทางวิวัฒนาการดังกล่าวไปแล้ว เพราะสิ่งที่พบจากการศึกษาไต ของตัวอ่อนช้างแอฟริกาคือ มีส่วนประกอบด้วย เซลล์เนื้อเยื่อเรียก นีโฟรสโทม (NEPHROSTOME) มีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ รูป กรวย ซึ่งพบอยู่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ำ แต่ไม่พบในตัวอ่อนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอาศัยอยู่บนบกมาก่อน แสดง ว่าช้างเคยมีบรรพบุรุษ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในน้ำชนิดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาก่อน ทั้งนี้เพราะว่าร่องเหงือกเป็นหลักฐานแสดงบรรพบุรุษ ของช้าง เคยเป็นปลามาก่อน และเนื้อเยื่อที่เป็นรูปกรวยค้นพบใหม่ ก็เป็นหลักฐานแสดงบรรพบุรุษของช้างเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมที่อาศัยอยู่ในน้ำมาก่อน นับเป็นหลักฐานสนับสนุนความเข้าใจว่าช้างกับวัวทะเล มีบรรพบุรุษร่วมกันอยู่ในน้ำ

ข้อมูลการค้นพบสนับสนุนทฤษฎีว่า ช้างเคยเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังอยู่ในน้ำดังเช่นวัวทะเลมาก่อน อธิบายที่มาของลักษณะ เฉพาะของช้างด้วยว่า การที่ช้างมีจมูกยาว คือ งวงช้าง ก็เพราะบรรพบุรุษของช้างเคยอยู่ในน้ำ และการมีจมูกยาวเป็นงวง ก็เป็น ประโยชน์สำหรับการหายใจขณะอยู่ในน้ำนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น