วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทองคำ มาจากไหน

 
คำว่า ทองคำ ในภาษาอังกฤษ คือ ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซิ่งมนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 องศาเซลเซียส และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

ในการเกิดขึ้นของแร่ทองคำตามลักษณะที่พบในธรรมชาติคือแบบ ปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ ใน แบบแรกปฐมภูมิหรือในชั้นหิน แข็ง แหล่งแร่ทองคำที่เกิดจาก กระบวนการทางธรณีวิทยาลักษณะนี้ เช่น กระบวนการ นํ้าแร่ร้อน กระบวนการแปรสัมผัส กระบวนการเติมสารละลายซิลิกา เป็นต้น ทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำ ในหินชนิดต่าง ๆ ทั้ง หินอัคนี หินชั้น และหินแปร ทองคำ ที่เกิดอาจจะฝังปะปนอยู่ในเนื้อ หินหรือสายแร่ที่แทรกในหินแต่ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า มีส่วนน้อยที่จะมีขนาดโตพอที่จะเห็นได้ชัดเจน

ขณะที่แหล่งแร่ทองคำแบบทุติยภูมิหรือแหล่งลานแร่ เกิดจากการผุพังของหินที่มีแร่ทองคำลักษณะแรก แล้วสะสมตัวในที่เดิมหรือ ถูกนํ้าชะล้างพาไปสะสมตัวในที่ใหม่ ในบริเวณต่าง ๆ ที่เหมาะสม อย่างเช่น เชิงเขา ลำห้วย หรือในตะกอนกรวดทรายในลำน้ำ เมื่อขุดร่อนดินหากดินเหนียวมีลักษณะเป็น สีแดง ๆ แดงปนน้ำตาลหรือน้ำตาลไหม้ กรวดเป็นสีขาวขุ่น สีน้ำนมหรือสีงาช้างปะปนกับกรวดสีเขียว เขียวเทาและเทาดำจำนวนมากและหากบริเวณนั้นเป็นแหล่งแร่ก็จะสามารถพบทองได้

ในบ้านเราที่พบมีทั้งในหินแข็งและหินผุพังกระจายตัวอยู่ในพื้นที่หลาย จังหวัด โดยภาพรวมแล้วเป็นแนว หรือเป็นกลุ่ม การสำรวจแหล่งแร่ทองคำ กรมทรัพยา กรธรณีได้ศึกษาต่อเนื่องมายาวนานด้วยวิธีการทางธรณีวิทยาธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์โดยทำการสำรวจทั้งทางอากาศ บนผิวดินและใต้ดิน
การนำทองมาใช้ ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะแหล่งแร่ทองคำที่พบในแบบปฐมภูมิซึ่งนอกจากการสำรวจที่ต้องใช้ระยะ เวลา ในขั้นตอนการนำทองคำออกมาจากแหล่งทองในธรรมชาติยังต้องใช้ทุนและเทคโนโลยี สูง รวมทั้งผ่านกระบวนการผลิตอีกหลายขั้นตอน
ขณะที่ทองคำพบได้ทั้งในรูปแบบที่มองเห็นได้ด้วย ตาเปล่าและที่ใช้ความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยีเข้าช่วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการขุดร่อนทองที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ในการร่อนทองที่พบเห็นกันตามแหล่งน้ำหากแยกนำทองออกได้ก็จะไม่เกิดปัญหา แต่ที่หยิบจับไม่ได้แล้วใช้ปรอทจับทองคำออกมาเพื่อนำไปเผาให้ได้ทองจะมีผล ต่อสุขภาพ

ในการเผาเพื่อให้ได้ทอง ไอปรอทที่เกิดขึ้นหากสูดดมหายใจเข้าไปจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ในระยะยาวทำให้เจ็บป่วยเป็นมะเร็งปอด อีกทั้งสารปรอทที่นำมาใช้อาจตกค้างอยู่ในลำธารและกระจายไปสู่แหล่งน้ำอื่น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวซึ่งสิ่งนี้ไม่ควรละเลย และต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
จากที่ประเทศไทยมีชื่อเรียกขานว่าสุวรรณภูมิซึ่งมีความหมายถึงแผ่นดินทอง การสำรวจพบแหล่งแร่ทองคำในสถานที่ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ น่ายินดีแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของทองคำในประเทศ

การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและใช้ให้ก่อเกิดประโยนช์ให้มากที่สุด ใช้อย่างยั่งยืน สิ่งนี้มีความหมายความสำคัญอย่างยิ่งและด้วยความโดดเด่นในคุณสมบัติของทองคำ ปริมาณที่มีอยู่น้อยบวกกับ ความหายากของทองคำ ทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบของความล้ำค่า ความต้องการของแร่โลหะที่เรียกกันว่า ทองคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น